เมนูทั้งหมด
เมนูทั้งหมด

ข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้บริการ

  1. ผู้ลงผลงานอาจมีการนำเข้าหรือแชร์ลิงค์ออกไปยังเว็บไซต์อื่น หรือแพลตฟอร์มของบุคคลอื่น ในกรณีดังกล่าว หากเกิดปัญหาใดๆ หลังจากการแชร์ลิงค์ออกไปภายนอก จะไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของทาง ‘คลังความรู้.com’ ทุกกรณี
  2. เมื่อสมัครสมาชิกเพื่อลงผลงาน หรือใช้บริการ ทางเราอาจขอข้อมูลบางประการจากผู้สมัครโดยผู้สมัครสามารถสร้างข้อมูลสมาชิกต่าง ๆ ได้เอง เช่น ชื่อ นามสกุล เพศ วัน/เดือน/ปี เกิด หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ที่อยู่ หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาพถ่ายที่ผู้ใช้งานอาจทำการอัพโหลดเข้ามาในระบบ ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อมูลสมาชิกของที่ตนเองสร้างขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ รูปภาพหรือสถานที่ต่าง ๆ ท่านต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงความเสี่ยงในการแสดงข้อมูลนั้น ๆ
  3. หากผู้สมัครตัดสินใจเข้าใช้บริการ ‘คลังความรู้.com’ โดยผ่านบริการยืนยันตัวตนของผู้ให้บริการอื่น เช่น ผู้ให้บริการเฟสบุ๊คหรืออีเมล เป็นต้น ทางเราอาจได้รับข้อมูลประวัติหรือข้อมูลอื่นเพิ่มเติมตามที่ผู้ให้บริการรายดังกล่าวแสดงผลและกำหนดไว้
  4. ข้อมูลจากเว็บไซต์และอุปกรณ์เคลื่อนที่อาจมีการบันทึกข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ของเรา เช่น ข้อมูลที่ได้รับจากอุปกรณ์หรือเว็บบราวเซอร์ของผู้สมัคร รวมถึงไอพีแอดเดรส โดยการดำเนินการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นที่เว็บไซต์ ‘คลังความรู้.com’ หรือบนแพลตฟอร์มบุคคลภายนอกด้วย
  5. ‘คลังความรู้.com’ อาจใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมและควบคุมไว้เพื่อวิเคราะห์ปรับปรุงบริการด้านต่าง ๆ เพื่อให้บริการได้ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งาน ดังนั้นจึงอาจมีการติดต่อสมาชิกสำหรับการสื่อสารด้านการตลาดที่ได้รับอนุญาตผ่านช่องทางติดต่อสื่อสารใดๆ ที่ใช้การได้
  6. ข้อมูลที่ ‘คลังความรู้.com’ เก็บรวบรวมจะได้รับการปกป้องโดยขั้นตอนรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมตามสมควร เพื่อป้องกันการเข้าถึงหรือใช้ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น ผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามนโยบายที่ชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้อย่างเคร่งครัด โดยจะไม่กระทำการใดอันเป็นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้งานอื่นหรือบุคคลภายนอก ทั้งนี้หาก ‘คลังความรู้.com’ พบการล่วงละเมิดดังกล่าว เราขอสงวนสิทธิในการยกเลิกและปิดกั้นการเข้าใช้ของผู้ใช้งานผู้กระทำการล่วงละเมิดนั้น

    กรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคลและช่องทางติดต่อสื่อสารของผู้ใช้งานเสียหายหรือสูญหาย ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งรวมถึง การจารกรรมด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Hack) หรือวิธีการอื่น ‘คลังความรู้.com’ ขอสงวนสิทธิโดยไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายหรือสูญหายดังกล่าว หรือต่อความเสียหายสืบเนื่องใดๆ ทั้งสิ้น

  7. หลังจากซื้อผลงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ผลงานชิ้นนั้น ๆ จะถูกเก็บไว้ใน ‘คลัง’ ของผู้ใช้บริการเพื่อให้พร้อมเข้าอ่านได้ตลอดเวลา ผู้ใช้บริการจะสามารถเข้าอ่านได้ตลอดแม้ว่าผลงานชิ้นนั้นจะถูกลบออกจากหน้าเสนอขายไปแล้วก็ตาม
  8. ผู้ลงผลงานมีสิทธิในการอัพเดตและปรับเปลี่ยนเนื้อหาของผลงานที่ถูกซื้อไปแล้วได้ แต่ต้องผ่านการตรวจสอบจากระบบของเราก่อน
  9. ผู้ใช้บริการไม่มีสิทธินำผลงานที่ซื้อไว้ไปทำซ้ำ หรือเผยแพร่ต่อในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด
  10. ผู้ใช้บริการไม่สามารถขอคืนเงินได้ทุกกรณี หลังจากทำการซื้อไปแล้ว
cover
ปัญหาการคอรัปชั่น จุดจบของผู้นำประเทศ
  • 0.0 (0)
  • |
  • ขายได้: 0
คำนิยาม
คอรัปชั่น คือ การทุจริตโดยใช้หรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่อำนาจและอิทธิพลที่ตนมีอยู่เพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น การเห็นแก่ญาติพี่น้อง กินสินบน ฉ้อราษฎร์บังหลวง การใช้ระบบอุปถัมภ์และความไม่เป็นธรรมอื่นๆที่ข้าราชการหรือบุคคลใดใช้เป็นเครื่องมือในการลิดรอนความเป็นธรรม
คอรัปชั่น หมายถึง ความผิดที่ระบุไว้ในประมวลกฏหมายอาญา อันได้แก่ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดที่เกี่ยวกับความยุติธรรมและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ซึ่งกล่าวง่ายๆ คือ การกระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรชอบได้ด้วยกฏหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เช่น
1. การเบียดบังทรัพย์ของทางราชการเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต
2. การใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ
3. การบอกว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์แก่เจ้าพนักงาน
รากเหง้าของปัญหา
ปัญหาการคอรัปชั่นเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจที่สลับซับซ้อน ซึ่งไม่ใช่มีผลกระทบต่อประเทศหนึ่งใดเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อทุกประเทศในโลกนี้ การคอรัปชั่นถือว่าเป็นปัญหาระดับโลก ดังนั้น องค์การสหประชาชาติจึงสร้างเครื่องมือระหว่างประเทศ ในการดำเนินการทางกฎหมายกับพวกทุจริตคอรัปชั่นทั้งหลาย ที่มักหลบหนีออกจากประเทศของตนไปเสวยสุขในประเทศอื่น โดยประเทศสมาชิกได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านคอรัปชั่น ตั้งแต่นี้ไป สมาชิกสหประชาชาติมีข้อผูกมัดที่ต้องให้ความร่วมมือในการป้องกัน ปราบปรามการคอรัปชั่น ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และในวงการการเมืองและการเงินระดับสูง เพราะสหประชาชาติถือว่า “การคอรัปชั่น เป็นการทำร้ายคนยากจน เพราะเบียดบังเงินที่รัฐตั้งใจจะนำมาพัฒนาบ้านเมือง กลับเบียดบังเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตน พวกพ้อง อันเป็นการบ่อนทำลายขีดความสามารถของรัฐบาล ที่จะให้บริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชาชน ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันและความอยุติธรรมในสังคม ทำให้ต่างประเทศไม่เข้ามาลงทุนหรือให้ความช่วยเหลือ
นอกจากนี้ การคอรัปชั่นยังเป็นการบ่อนทำลายสถาบันประชาธิปไตย ขัดขวางการพัฒนาเศรษฐกิจ และทำให้รัฐบาลไร้เสถียรภาพ ที่ว่าบ่อนทำลายประชาธิปไตย เพราะเนื่องจากมีการบิดเบือนกระบวนการประชาธิปไตย หลักนิติธรรม ด้วยการให้เงินสินบน จ่ายเงินซื้อเสียงเมื่อเข้าไปแล้วก็หาทางถอนทุน (บวกกำไร) ฯลฯ ทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่อยากมาลงทุน เช่นเดียวกับนักลงทุนภายในประเทศ เพราะมีรายจ่ายจำบัง ในต้นทุน ทำให้นักลงทุนต่างชาติไปลงทุนในประเทศที่มีความโปร่งใสแทน
สหประชาชาติได้เน้นเรื่องการป้องกันเป็นสำคัญ โดยมีบทหนึ่งว่าด้วยเรื่องการป้องกันเป็นการเฉพาะมุ่งไปที่ภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ ให้ประเทศต่างๆ ตั้งองค์กรขึ้นมาเฉพาะเรื่องการป้องกันและปราบปรามคอรัปชั่นโดยตรง (ป.ป.ช.) รวมทั้งสร้างความโปร่งใสในการเลือกตั้งและพรรคการเมือง ภาคราชการเน้นเรื่องการคัดเลือกคนทำงานอย่างโปร่งใส ไม่เล่นพรรคเล่นพวก ข้าราชการต้องปฏิบัติตามวินัยราชการอย่างเคร่งครัด ต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ต้องโปร่งใสเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง ฯลฯ นอกจากนั้น สหประชาชาติได้ส่งเสริมบทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGO ให้ช่วยสอดส่องดูแลการคอรัปชั่น รวมทั้งกระตุ้นจิตสำนึกของประชาชน ให้ช่วยตรวจสอบการคอรัปชั่น สหประชาชาติมองว่า “การคอรัปชั่นคืออาชญากรรม” ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญา ต้องกำหนดให้การคอรัปชั่นเป็นอาชญากรรม การให้สินบน การโกงเงินหลวง การปกปิดบัญชีทรัพย์สิน การฟอกเงิน การขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ ถือว่าเป็นการคอรัปชั่นด้วยเช่นกัน
การคอรัปชั่นถือว่าเป็นปัญหาระดับโลก ดังนั้นประเทศต่างๆ จึงต้องร่วมมือกันในการป้องกัน สืบสวน นำตัวคนโกงมาลงโทษ ประเทศที่ลงนามมีข้อผูกมัดที่จะต้องให้ความร่วมมือในการรวบรวมและจัดส่งหลักฐานสำหรับใช้ในศาล การแกะรอย การอายัดทรัพย์ การยึดทรัพย์ จัดส่งคนโกงกลับประเทศ ต้นทาง สหประชาชาติได้เน้นความร่วมมือแกะรอยเส้นทางเดินของเงิน การค้นหาทรัพย์สินที่โกงมาและนำมาซุกซ่อนไว้ โดยถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะนักการเมืองในประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจน มักมีการคอรัปชั่นสูง โดยการยักยอกความมั่งคั่งของชาติมาเป็นของตัวและครอบครัว หากค้นพบทรัพย์สินที่ถูกนำมาซุกซ่อนไว้ และพิสูจน์ได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่โกงมา ประเทศที่ได้รับการร้องขอต้องคืนทรัพย์สินทั้งหมดไปให้ประเทศที่ร้องขอมา บนสมมติฐานที่ว่า “คนโกงต้องไม่มีที่ยืนบนโลกนี้ ทรัพย์สินที่โกงมาต้องไม่มีที่ซุกซ่อนบนโลกนี้” ถ้าทุกประเทศร่วมมือกันต่อต้านการคอรัปชั่นอย่างจริงจัง โลกคงเจริญและมีความสุขมากกว่าทุกวันนี้ จะเห็นได้ว่า ทั้งที่มีตัวอย่างผู้นำหลายประเทศถูกจำคุกหรือถูกเปิดโปง เพราะการทุจริตคอรัปชั่นระหว่างที่อยู่ในอำนาจ แต่ก็ยังมีผู้นำที่ใช้อำนาจแสวงหารายได้อย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย พูดง่ายๆ ก็คือ การทุจริตคอรัปชั่นนั่นเอง ยกตัวอยู่ผู้นำประเทศที่ต้องประสพชะตากรรมอยู่ในขณะนี้คือ
กรณีนายเฉิน สุยเปี่ยน
นายเฉิน สุยเปี่ยน อดีตประธานาธิบดีไต้หวัน หลังถูกอัยการกล่าวหาว่าทุจริตคอรัปชั่น และถูกห้ามเดินทางออกนอกประเทศ นับว่าเป็นประธานาธิบดีคนแรกของไต้หวัน ที่ถูกอัยการห้ามนอกประเทศ เพราะถ้าไม่ห้ามไว้ก่อน นายเฉิน สุยเปี่ยน และภรรยาอาจหลบหนีไปต่างประเทศ ทำให้รัฐไม่สามารถนำคนผิดมาลงโทษและยึดเงินหลวงคืนได้ จากหลักฐานที่อัยการยึดได้จากบ้านพักนายเฉินฯ รวม 5 กล่องกระดาษ และคอมพิวเตอร์อีก 3 เครื่อง พบว่า ครอบครัวนายเฉิน ส่งเงินจำนวนมากไปฝากที่ธนาคารในสวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ เกาะคีย์แมน และที่อื่นๆ รวมทั้งยังพบบัญชีธนาคารอีก 4 บัญชี ที่เปิดไว้สำหรับการโอนเงินเข้าออก เพื่อการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา เป็นเงินจำนวนหลายล้านดอลลาร์ไต้หวัน รวมทั้งยักยอกเงินไว้ในอีก 4 บัญชี โดยไม่ยอมแจ้งทรัพย์สินให้กับ ป.ป.ช.ไต้หวันทราบ
กรณีนายเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส
นายเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส อดีตประธานาธิบดีของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมีการบันทึกเอาไว้เป็นประวัติศาสตร์ว่า มาร์กอส คือตำนานที่แท้จริง ของคนที่ทำลายประเทศที่ตนถือกำเนิดจนย่อยยับไปคามือ พร้อมทั้งปล้นชาติ ปล้นแผ่นดิน ด้วยวิธีการฉ้อฉล ซ่อนเงื่อน จนประเทศของตัวเต็มไปด้วยหนี้สินจำนวนมหาศาล นอกจากนั้นมาร์กอส ยังกำจัดศัตรูทางการเมืองของเขา ด้วยวิธีการที่โหดเหี้ยม ป่าเถื่อน โดยเชื่อว่า
อำนาจที่ล้นฟ้าในฐานะประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ จะสามารถการันตีได้ว่า ใครหน้าไหนก็ไม่มีทางคว่ำเขาลงได้ แต่ท้ายที่สุด มาร์กอส ก็ต้องพ่ายแพ้ต่อพลังประชาชน และถูกชนะโดยความถูกต้อง จนกระทั่งต้องออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ โดยที่เขาและครอบครัว ไม่เชื่อสายตาของตัวเองเลย
มาร์กอส มีทรัพย์สินมูลค่ามากกว่า 1.4 ล้านล้านบาทไทย เขาใช้ทรัพย์สินเหล่านี้รวบรวมกำลังคนและสรรพกำลังต่างๆ เพื่อวางแผนกลับมาครองอำนาจในฟิลิปปินส์อีก ทั้งๆ ที่ตัวเองลี้ภัยอยู่ในฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่สุดท้าย เขาก็จากโลกนี้ไปด้วยโรคหัวใจ ในวัย 72 ปี ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา กว่า ร่างของมาร์กอส จะถูกนำตัวกลับมาทำพิธีศพที่แผ่นดินเกิด ต้องกินเวลานานถึง 7 ปี นับจากถูกขับออกจากประเทศ แม้นางอีเมลดา มาร์กอส ภรรยาของเขาจะร้องขอให้ศพของมาร์กอส ได้รับการฝังที่ “สุสานของวีรบุรุษ” ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์ แต่ได้รับการปฏิเสธ สุดท้ายศพของเขาจึงตั้งไว้ที่สุสานในบ้านเกิดของเขาเอง โดยไม่มีการฝังศพลงใต้ดิน หากแต่เก็บไว้ในจุดที่คนทั่วไปสามารถมองเห็นและทำความเคารพอดีตประธานาธิบดีคนนี้ได้ตลอดเวลา
กรณี พล.อ.ซูฮาร์โต
ในปี 2509 ซูฮาร์โตจัดการยึดอำนาจจาก ซูการ์โน ประธานาธิบดีคนแรก หลังได้รับเอกราชของอินโดนีเซีย (เสียชีวิตในระหว่างถูกควบคุมตัวในปี 2513) ทำให้รัฐสภาอินโดนีเซียในเวลานั้นกลายเป็นสภาตรายาง เลือกซูฮาร์โตขึ้นเป็นประธานาธิบดี โดยที่เขาได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งนี้โดยไร้คู่แข่งในอีก 6 ครั้งต่อมา ระหว่างสงครามเย็น ซูฮาร์โตกลายเป็นขวัญใจของโลกตะวันตก เขาอาศัยห้วงเวลาดังกล่าวส่งกำลังทหารเข้ายึดครองปาปัวในปี 2512 และติมอร์ตะวันออก ในปี 2517 แต่ผู้ที่ไม่ชอบขี้หน้า ซูฮาร์โต ยังเห็นพ้องว่า การใช้นโยบายแข็งกร้าวของเขา ได้กลายเป็นผลดีในการกดดันกลุ่มหัวรุนแรงไม่ให้เกิดและเติบใหญ่ในประเทศ ซูฮาร์โตจับกุมคุมขังผู้ต้องสงสัยเป็นพวกหัวรุนแรงทางศาสนา จำนวนหลายพันคนโดยไม่ต้องไต่สวน
ซูฮาร์โต ได้รับฉายานามจากผู้ที่ไม่เห็นด้วยในเวลาต่อมาว่า มาเฟียแห่งเบิร์กลีย์ หลังจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์ ประสาทปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้ ในฐานะเป็นผู้พลิกโฉมหน้าเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย และดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศได้ นับเป็นพันๆ ล้านดอลลาร์ ปลายทศวรรษ 1980 ซูฮาร์โต อธิบายถึงตัวเองไว้ว่าเป็นบิดาแห่งพัฒนาการของอินโดนีเซีย อ้างเครดิตจากการลดปริมาณคนยากจนลง (อย่างช้าๆ) และการทำประเทศ (บางส่วน) ให้ทันสมัย แต่รัฐบาลภายใต้การนำของเขายิ่งนับวันยิ่งมีชื่อเสียงมากขึ้นเรื่อยๆ ในด้านคอร์รัปชั่น เล่นพรรคเล่นพวก และกลายเป็นประเทศที่มีการฉ้อฉล ติดอันดับสูงสุดของโลกอย่างสม่ำเสมอ ในเวลาเดียวกับที่คนวงในของเขาเองสั่งสมความมั่งคั่งมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งทุกวันนี้ลูกๆ ของซูฮาร์โต ที่เกิดจาก สิตี ฮาร์ตินาห์ ภรรยาที่เสียชีวิตไปเมื่อปี 2539 ยังคงมีอิทธิพลทั้งในแวดวงธุรกิจ, การเมือง แม้กระทั่งศาล นั่นคือเหตุผลส่วนหนึ่งที่ตราบจนสิ้นลม ซูฮาร์โต ไม่เคยไปปรากฏตัวตอบข้อกล่าวหาว่าคอร์รัปชั่น หรือละเมิดสิทธิมนุษยชน แม้แต่ครั้งเดียว ไม่ว่ากับศาลไหนๆ
กรณีอดีตผู้นำของไทย
คนเราเกิดมาในโลก อยากทำดีด้วยกันทั้งนั้นแต่หลายๆ ครั้ง ทำดีได้พักใหญ่ พอนานวันเข้า ความดีเกิดหมด และความเลวกลับเข้ามาแทนที่โดยที่ไม่รู้เนื้อรู้ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคคลที่เป็นผู้นำของประเทศด้วยแล้ว พอได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นใหญ่ในสมัยแรก มักจะทำคุณงามความดีเอาไว้มาก และได้รับการยกย่องสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง พอได้รับเลือกเข้ามาในสมัยที่สองการกลับเปลี่ยนไป ความหลงตัวลืมตัว ความอยากได้ใคร่ดีเกินความเหมาะสม ตลอดจนบุคคลที่รายล้อมอยู่รอบข้าง ได้ทำให้ผู้นำหลายคนต้องพบจุดจบอย่างที่เห็น
บทเรียนจากกรณีผู้นำของไทย
หากย้อนเวลากลับไปในช่วงก่อนที่เข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศ ส่วนใหญ่มักจะประกาศเป็นนโยบายว่าจะบริหารประเทศด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คิดเอาเงินภาษีของประชาชนทั้งประเทศ (ที่กู้มาจำนวนมหาศาล) ไปแจกให้กับประชาชนบางกลุ่ม เพียงเพื่อสร้างคะแนนนิยม สร้างฐานอำนาจให้กับตัวเอง ด้วยวิธีการต่างๆ เพราะนั่นถือว่าเป็นการทุจริตทางจริยธรรม รวมทั้งเคยกล่าวว่าจะสร้างการเมืองใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากความขัดแย้ง แต่ข้อเท็จจริงสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งผลของการกระทำจึงย้อนกลับมาเล่นงานอยู่ในทุกวันนี้ ตามกฎแห่งกรรมที่ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า ครั้นคิดจะย้อนเวลากลับไปแก้ตัว ก็ทำไม่ได้แล้วเพราะในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีเครื่องย้อนเวลาวางขาย ชีวิตของผู้นำ จึงเหลือแต่เวลาที่จะเคลื่อนไปข้างหน้า รอว่าจุดจบจะเป็นดั่งเช่นอดีตผู้นำที่ผ่านๆ มาหรือไม่

แนวทางปฏิบัติของผู้นำ
แนวทางที่ใช้กับผู้นำประเทศ เพื่อไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง หรือเป็นเครื่องสำหรับยึดเหนี่ยวจิตใจ ก็คือ ทศพิธราชธรรม อันหมายถึง หลักธรรม ที่พึงปฏิบัติในฐานะเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ทรงมีหน้าที่เป็นพระมหากษัตริย์ ผู้ปกครองประชาชนให้มีความสุขโดยธรรม และธรรมคือหน้าที่ คือเป็นสิ่งที่พึงทำของพระองค์ ซึ่งมีมาตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงขึ้นครองราชย์สมบัติ ตามที่ได้มีพระปฐมบรมราชโองการไว้ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ธรรมคือหน้าที่ดังกล่าวนี้ เป็นข้อที่จะพึงทรงปฏิบัติ และทุกๆ คน อันหมายถึงผู้ปกครองที่มีระดับเป็นรัฐบาล ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน ตลอดถึงประชาชนทั้งปวง เมื่อเป็นขึ้นมาอย่างใด ก็ย่อมมีธรรมคือหน้าที่ คือเป็นกิจที่พึงปฏิบัติเกิดขึ้นทันที


---------------------------------
  • 0
  • 3 ปีที่ผ่านมา

รูปแบบ และแนวทางการลงผลงาน

รูปแบบการลงผลงาน

การลงผลงานให้อ่านใน ‘คลังความรู้.com’ จะแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบโดยผู้ลงผลงานสามารถเลือกได้เองอย่างอิสระ ดังนี้

รูปแบบที่ 1: เปิดให้บุคคลทั่วไปอ่านฟรี

ผู้ลงผลงานสามารถเปิดให้ผู้ที่ต้องการศึกษาเข้าอ่านได้ฟรี เพื่อเป็นการทดลองอ่านหรือโฆษณาผลงานชุดนั้นๆ โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้อง Login ก็สามารถเข้าอ่านได้ ขึ้นอยู่กับผู้ลงผลงานว่ามีความประสงค์ให้อ่านฟรีมากเท่าใด อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งชุด สิทธิ์ในการตัดสินใจเป็นของผู้ลงผลงานทั้งสิ้น อีกทั้งผู้ลงผลงานสามารถนำผลงานไปโปรโมท หรือเผยแพร่ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด

รูปแบบที่ 2: เปิดให้สมาชิกเท่านั้นที่อ่านฟรีได้

ผู้ลงผลงานสามารถติดไอคอน ‘เหรียญเงิน’ ในผลงานที่ผู้ลงผลงานต้องการสงวนไว้ให้เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่อ่านได้ ไอคอนเหรียญเงินที่ว่านี้จะทำให้ผู้อ่านเห็นคุณค่าของผลงานของท่าน และเหรียญเงินแต่ละดอกจะมีผลต่อการจัดอันดับ Top 10 ผลงานในแต่ละหมวดหมู่อีกด้วย

รูปแบบที่ 3: เปิดให้ผู้สนับสนุนเท่านั้นที่อ่านได้

ในกรณีที่ผู้ลงผลงานต้องการสร้างรายได้จากผลงานของท่าน ท่านสามารถเลือกที่จะติด ‘เหรียญทอง’ ในผลงานของท่านได้ โดยที่เหรียญเหล่านี้ ผู้ใช้บริการที่ต้องการจะสนับสนุนจะใช้เงินซื้อมาเพื่อแลกกับการอ่านผลงานของท่าน (ตามราคาที่ผู้ลงผลงานตั้งไว้ในแต่ละคอนเทนต์)

รูปแบบที่ 4: เปิดกว้างให้ทั้งสมาชิกและผู้สนับสนุนอ่านได้ทั้งคู่

ผู้ลงผลงานสามารถเลือกติดเหรียญเงินและเหรียญไปพร้อม ๆ กันได้ นั่นหมายความว่า ท่านยินดีที่จะให้สมาชิกอ่านฟรีและเปิดกว้างสำหรับผู้ที่พร้อมจะสนับสนุนไปด้วย ซึ่งวิธีนี้ก็จะดีมากสำหรับการโฆษณางานของตัวผู้ลงผลงานเองให้เป็นที่รู้จัก ผลงานของคุณจะไม่พลาดการจัดอันดับ Top 10 จากเหรียญเงินอีกทั้งยังสามารถได้รับการสนับสนุนจากผู้ใช้บริการในรูปแบบของเหรียญทองอีกด้วย

แนวทางการลงผลงาน

ข้อห้ามเกี่ยวกับผลงานที่นำมาลง

** ‘คลังความรู้.com’ ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับระดับการแสดงผลงาน หรือระงับการให้บริการผลงานแก่ผู้ลงผลงานที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยไม่มีการแจ้งหรือขออนุญาตล่วงหน้า
*** หากเกิดการฟ้องร้องใดๆ เกี่ยวกับผลงานของผู้ลงผลงาน ทาง ‘คลังความรู้.com’ จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกกรณี เนื่องจาก ‘คลังความรู้.com’ เป็นพื้นที่ที่ใช้ลงผลงานเท่านั้น