เมนูทั้งหมด
เมนูทั้งหมด

ข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้บริการ

  1. ผู้ลงผลงานอาจมีการนำเข้าหรือแชร์ลิงค์ออกไปยังเว็บไซต์อื่น หรือแพลตฟอร์มของบุคคลอื่น ในกรณีดังกล่าว หากเกิดปัญหาใดๆ หลังจากการแชร์ลิงค์ออกไปภายนอก จะไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของทาง ‘คลังความรู้.com’ ทุกกรณี
  2. เมื่อสมัครสมาชิกเพื่อลงผลงาน หรือใช้บริการ ทางเราอาจขอข้อมูลบางประการจากผู้สมัครโดยผู้สมัครสามารถสร้างข้อมูลสมาชิกต่าง ๆ ได้เอง เช่น ชื่อ นามสกุล เพศ วัน/เดือน/ปี เกิด หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ที่อยู่ หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาพถ่ายที่ผู้ใช้งานอาจทำการอัพโหลดเข้ามาในระบบ ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อมูลสมาชิกของที่ตนเองสร้างขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ รูปภาพหรือสถานที่ต่าง ๆ ท่านต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงความเสี่ยงในการแสดงข้อมูลนั้น ๆ
  3. หากผู้สมัครตัดสินใจเข้าใช้บริการ ‘คลังความรู้.com’ โดยผ่านบริการยืนยันตัวตนของผู้ให้บริการอื่น เช่น ผู้ให้บริการเฟสบุ๊คหรืออีเมล เป็นต้น ทางเราอาจได้รับข้อมูลประวัติหรือข้อมูลอื่นเพิ่มเติมตามที่ผู้ให้บริการรายดังกล่าวแสดงผลและกำหนดไว้
  4. ข้อมูลจากเว็บไซต์และอุปกรณ์เคลื่อนที่อาจมีการบันทึกข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ของเรา เช่น ข้อมูลที่ได้รับจากอุปกรณ์หรือเว็บบราวเซอร์ของผู้สมัคร รวมถึงไอพีแอดเดรส โดยการดำเนินการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นที่เว็บไซต์ ‘คลังความรู้.com’ หรือบนแพลตฟอร์มบุคคลภายนอกด้วย
  5. ‘คลังความรู้.com’ อาจใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมและควบคุมไว้เพื่อวิเคราะห์ปรับปรุงบริการด้านต่าง ๆ เพื่อให้บริการได้ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งาน ดังนั้นจึงอาจมีการติดต่อสมาชิกสำหรับการสื่อสารด้านการตลาดที่ได้รับอนุญาตผ่านช่องทางติดต่อสื่อสารใดๆ ที่ใช้การได้
  6. ข้อมูลที่ ‘คลังความรู้.com’ เก็บรวบรวมจะได้รับการปกป้องโดยขั้นตอนรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมตามสมควร เพื่อป้องกันการเข้าถึงหรือใช้ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น ผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามนโยบายที่ชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้อย่างเคร่งครัด โดยจะไม่กระทำการใดอันเป็นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้งานอื่นหรือบุคคลภายนอก ทั้งนี้หาก ‘คลังความรู้.com’ พบการล่วงละเมิดดังกล่าว เราขอสงวนสิทธิในการยกเลิกและปิดกั้นการเข้าใช้ของผู้ใช้งานผู้กระทำการล่วงละเมิดนั้น

    กรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคลและช่องทางติดต่อสื่อสารของผู้ใช้งานเสียหายหรือสูญหาย ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งรวมถึง การจารกรรมด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Hack) หรือวิธีการอื่น ‘คลังความรู้.com’ ขอสงวนสิทธิโดยไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายหรือสูญหายดังกล่าว หรือต่อความเสียหายสืบเนื่องใดๆ ทั้งสิ้น

  7. หลังจากซื้อผลงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ผลงานชิ้นนั้น ๆ จะถูกเก็บไว้ใน ‘คลัง’ ของผู้ใช้บริการเพื่อให้พร้อมเข้าอ่านได้ตลอดเวลา ผู้ใช้บริการจะสามารถเข้าอ่านได้ตลอดแม้ว่าผลงานชิ้นนั้นจะถูกลบออกจากหน้าเสนอขายไปแล้วก็ตาม
  8. ผู้ลงผลงานมีสิทธิในการอัพเดตและปรับเปลี่ยนเนื้อหาของผลงานที่ถูกซื้อไปแล้วได้ แต่ต้องผ่านการตรวจสอบจากระบบของเราก่อน
  9. ผู้ใช้บริการไม่มีสิทธินำผลงานที่ซื้อไว้ไปทำซ้ำ หรือเผยแพร่ต่อในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด
  10. ผู้ใช้บริการไม่สามารถขอคืนเงินได้ทุกกรณี หลังจากทำการซื้อไปแล้ว
cover
คุณลักษณะของผู้นำในองค์กรที่ดี
  • 0.0 (0)
  • |
  • ขายได้: 0
บทนำ
ในองค์กรหนึ่งไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน อาจจะเป็นอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ ศาสนา หรือการเมืองก็ตาม ย่อมประกอบไปด้วยหลายส่วน แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่นักบริหารธุรกิจระดับโลกให้ความสำคัญที่สุดก็คือ ผู้นำ ซึ่งคำว่าผู้นำนั้นใครๆ ก็สามารถเป็นได้และไม่ใช่เรื่องยาก (หากมีเส้นสาย ด้วยโชคชะตาบารมี) เพียงแต่แตกต่างกันตรงที่ความมี ภาวะผู้นำ (Leadership) มากน้อยเพียงใด และแบบไหนถึงจะมีประโยชน์ที่สุดสำหรับองค์กร
ภาวะผู้นำ หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการนำพาผู้ติดตามหรือสมาชิกในองค์กร เพื่อให้ประสบความสําเร็จ ผู้นำที่ดีต้องมีความสามารถในการตัดสินใจที่ดี สามารถสร้างและสื่อสารวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และสามารถชักจูงผู้ติดตามไปสู่เป้าหมายร่วม ที่ผู้นำคนเดียวไม่สามารถทำได้ ยกตัวอย่างในโลกธุรกิจ ผู้นำองค์กรไม่ใช่คนที่รู้เรื่องบัญชี การเงิน การตลาด หรือกฎหมายมากที่สุดก็ได้ ผู้นำองค์กรที่ดีคือ คนที่สามารถบริหารและชี้นำคนในองค์กรได้ เป็นตำแหน่งที่ส่งเสริมให้พนักงานคนอื่นสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีวิสัยทัศน์สามารถวางแผนระยะยาวให้กับองค์กรได้ ซึ่งคนส่วนใหญ่คิดว่าทักษะที่จำเป็นที่สุดของผู้นำก็คือ ความสามารถในการตัดสินใจ เพราะการตัดสินใจแทนผู้ติดตามกลุ่มมาก หมายความว่า ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เด็ดเดี่ยว ใจเย็น ที่จะเลือกตัวเลือกที่อาจจะยาก แต่ส่งผลดีต่อองค์กรโดยรวม

ประโยชน์ของภาวะผู้นำ
คนที่มีภาวะผู้นำที่ดี ย่อมมีคนชอบ อยากเจริญรอยตามเยอะขึ้น อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของภาวะผู้นำนั้น สำคัญตรงที่ผลลัพธ์ที่ผู้นำมีต่อผู้ติดตามหรือองค์กร องค์กรที่มีภาวะผู้นำที่ดีย่อมสามารถขับเคลื่อนตัวได้ดีกว่าองค์กรอื่นๆ จากทักษะภาวะผู้นำที่ดีดังกล่าว เราจะเห็นได้ว่าประโยชน์ดังนี้
- แรงงานสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คือ การกระจายงานอย่างเหมาะสมและผลักดันให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- องค์กรสามารถประสบความสำเร็จได้ในภาวะกดดัน ผู้นำที่สามารถบริหารคนได้ดีจะตัดสินใจและชักจูงให้องค์กรขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ดี ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะไหนก็ตาม
- องค์กรมีความฉลาดทางอารมณ์มากกว่า คนที่มีภาวะผู้นำที่ดีย่อมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นและส่งเสริมให้องค์กรเปิดรับความคิดเห็นใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง
- มีเสน่ห์และสามารถดึงดูดคนได้มากกว่า ไม่ว่าใครก็อยากจะติดตามคนที่มีภาวะผู้นำที่ดี พนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ หรือลูกค้าก็อยากจะร่วมงานด้วย
- สร้างความมั่นใจให้ผู้ติดตาม หากพนักงานหรือผู้ติดตามมีความมั่นใจในผู้นำ พนักงานก็จะต่อต้านการตัดสินใจน้อยลง ซึ่งก็จะทำให้ประสิทธิภาพขององค์กรมากขึ้น
- พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยรวม นอกจะผู้นำจะสามารถสร้างระบบให้คนในองค์กรสามารถสื่อสารได้ดีขึ้นแล้ว คนในองค์กรยังมีแนวโน้มที่จะแบ่งบันความรู้ทักษะต่างๆ มากขึ้นด้วย
- ทำให้องค์กรเห็นค่าของความแตกต่างทางทักษะและประสบการณ์ การจัดวางกระจายงานให้ถูกคนถูกสถานที่ทำให้ทุกคนสามารถใช้ทักษะได้ช่วยเหลือกันและกันได้อย่างเต็มที่
- มีความคิดสร้างสรรค์และส่งเสริมนวัตกรรม การสื่อสารและวัฒนธรรมองค์กรที่ดี สามารถสร้างนวัตกรรมที่ดีได้

ผู้นำที่ดีเป็นอย่างไง
1) ผู้นำที่ดีคือ คนที่มีความมั่นใจ รับฟังความคิดเห็นของผู้ติดตาม ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการสื่อสารสูง และสามารถชักจูงคนอื่นได้ ความสำคัญของทักษะเหล่านี้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมขององค์กร ความคาดหวังของผู้ติดตาม และชนิดของงาน ซึ่งโดยทั่วไปหากผู้นำมีลักษณะเป็นนักประชาธิปไตย ก็มักจะเลือกใช้วิธีการบริหารแบบประชาธิปไตยโดยอัตโนมัติ แต่จะทำอย่างไร ถ้าเราต้องการให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ทำงานภายใต้ระบบอัตตนิยม ทุกคนอาจจะเคยมีปัญหาเช่นนี้มาบ้าง เพราะมนุษย์เราทุกคนต่าง ก็มีลักษณะผู้นำอยู่ในตัวตามธรรมชาติกันอยู่แล้ว ซึ่งทุกคนอาจจะมีลักษณะประจำตัวเป็นนักอัตตนิยม นักประชาธิปไตย หรือนักเสรีนิยม ซึ่งอาจถูกอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมเข้ามาครอบงำ จนทำให้ลักษณะประจำตัวที่เป็นธรรมชาติเปลี่ยนไป เช่น ถ้าคุณลองปล่อยให้ผู้ช่วยของคุณทำงานอย่างเสรี เขาก็อาจจะทำไม่ได้ดี หรือทำไม่ได้เลย คุณจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ระบบอัตตนิยมกับเขา แต่ลักษณะเฉพาะตัวของคุณก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการเลือกใช้ระบบให้เหมาะสมทั้งกับตัวคุณเอง และกับผู้ใต้บังคับบัญชา จึงเป็นเรื่องจำเป็น
2) ลักษณะผู้นำเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และแหล่งที่เกิดของมันนั้นก็คือตัวเราเอง กิริยาต่างๆ ที่เราแสดงออกมา ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการเดิน ตลอดจนการแสดงความคิดเห็น ต่างก็แสดงออกมาจากบุคลิกภาพประจำตัวของเราทั้งสิ้น และแน่นอนเป็นธรรมดาที่บุคคลที่มีบุคลิกภาพไปในทางใด ย่อมจะชอบระบบที่มีลักษณะไปในทางนั้น แต่ก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นว่า บุคลิกภาพเฉพาะตัว จะมีอิทธิพลเหนือระบบบริหารที่ใช้สักแค่ไหน เราจะฝืนลักษณะธรรมชาติของเราได้หรือไม่ หัวหน้าจะปฏิบัติอย่างไร ถ้าหากกลุ่มคนงานไม่ชอบระบบที่เขาใช้ และเขาจะปรับปรุงให้เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มได้อย่างไร
3) นักบริหารที่คิดว่า การบริหารงานจะได้ผลก็ต่อเมื่อเขาสามารถแก้ไขสถานการณ์ และมีความชำนาญในระบบที่เขาเลือกใช้ ซึ่งความคิดเช่นนี้ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องอยู่มาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะถูกไปเสียทุกกรณี ตัวอย่างเช่น คนเราจะต้องหัดคลานให้คล่องแคล่ว ซึ่งเป็นธรรมชาติมนุษย์ที่ได้หัดเดินด้วยการคลานตั้งแต่เล็กๆ ต่อมานานเข้าก็ปล่อยมือให้เป็นอิสระ เมื่อไม่ต้องใช้มือช่วยในการเดิน (คลาน) แล้ว จึงสามารถใช้มือให้เป็นประโยชน์ในทางอื่น เช่น หยิบฉวยและประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้คือพื้นฐานแห่งการพัฒนาการของมนุษย์ทั้งสิ้น ฉะนั้นผู้นำแบบอัตตนิยม ไม่จำเป็นต้องใช้แต่ระบบอัตตนิยมระบบเดียวไปจนตายดังนั้น นักบริหารที่ดี จะไม่เลือกใช้แต่ระบบการบริหารที่ตนเองชอบเสมอไป แต่จะต้องปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ได้เสมอ และยังต้องรู้จักใช้ความสามารถของตัว นำเอาวิธีการทุกชนิดมาใช้ให้ได้ผลกับการบริหาร งานของเขาหรืออาจพูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า บุคลิกภาพเป็นสิ่งแสดงลักษณะบริหารที่จะนำมาใช้ แต่ตามธรรมชาติของการบริหารงาน และสถานการณ์ที่ต้องเผชิญอาจจะทำให้ต้องเปลี่ยนไปใช้ระบบอื่น
4) ข้อเปรียบเทียบเหตุผลที่ใช้ในการเลือกระบบการบริหาร ให้สอดคล้องกับบุคลิกภาพของตนเอง ซึ่งข้อเปรียบเทียบนี้ จะช่วยแก้ปัญหาการผิดพลาดในการเลือกระบบบริหารได้ และต่อไปนี้เป็นความรู้สึกต่างกันของบุคคลสองคนที่เลือกใช้ระบบกุมอำนาจเช่นเดียวกัน ยังมีวิธีการสั้นๆ อย่างอื่นที่จะสรุปว่าจะดีหรือไม่ดี ที่จะเลือกใช้การบริหารระบบอัตตนิยม คนบางคนไม่สามารถบริหารให้ธุรกิจดำเนินไปได้ดีได้ เพราะการควบคุมและใช้อำนาจเหนือคนงานทั้งหมด แต่เขายังขาดความมั่นใจในตัวเอง จึงอาจจะนำไปสู่ปัญหาที่ยุ่งยากต่อไปได้ ในขณะเดียวกัน อันตรายจากบุคลิกภาพที่ไม่เปิดเผย ก็เกิดขึ้นได้กับระบบบริหารแบบประชาธิปไตย หรือแบบเสรีนิยม จึงอยู่ที่ว่าผู้นำจะเลือกใช้ในลักษณะใด ดังเช่น
ลักษณะที่มีประสิทธิภาพสูง ตั้งใจดี มั่นใจในตนเอง มีความรู้เรื่องงานที่ทำเป็นอย่างดี มีความรับผิดชอบ หัวหน้าให้ความเชื่อถือต่อความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา หัวหน้างานเชื่อว่าความคิด และการปฏิบัติร่วมกันของกลุ่ม จะเป็นผลโดยตรงต่อผลงาน
ลักษณะที่มีประสิทธิภาพต่ำ กลัวว่าผู้ใต้บังคับบัญชาจะทำงานไม่ถูกต้อง มีความพอใจที่มีอำนาจเหนือคนอื่น รู้สึกว่าตนเป็นคนสำคัญ เพราะเป็นผู้มีอิทธิพลในการนำผู้อื่น ขณะเดียวกันก็มีความลังเลต่อการรับผิดชอบ โดยคิดอย่างผิดๆ ว่า ระบบแบบประชาธิปไตยจะทำให้เขาต้องรับผิดชอบน้อยลง เกิดความลังเลใจต่อการใช้อำนาจในกรณีจำเป็น และหวังอยู่เสมอที่จะให้กลุ่มแก้ปัญหาให้
หากผู้บริหารคนใด ได้เลือกระบบบริหารที่ไม่สัมพันธ์กับบุคลิกลักษณะเฉพาะของตนเองแล้ว เขาควรจะทำอย่างไร โดยทั่วๆ ไปแล้วหลายๆ คนที่ต้องการจะมีอำนาจควบคุมคนและงานแต่เพียงคนเดียว ก็ควรใช้ระบบอัตตนิยม แต่บางคนกลับขาดความเชื่อมั่นในตนเองพอที่จะใช้ระบบนั้น ก็จึงหันไปใช้ระบบประชาธิปไตย เพราะเข้าใจว่าผู้ใต้บังคับบัญชาจะพอใจ และต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการรับผิดชอบหลายๆ อย่าง และผู้บริหารอีกจำนวนมากที่ไม่กล้าเผชิญปัญหาสำคัญต่างๆ ซึ่งยากต่อการตัดสินใจ เลยหันไปหาระบบเสรีนิยม เพื่อที่ว่าสมาชิกทั้งหมดของกลุ่มจะได้ร่วมกันแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ และร่วมรับผิดชอบกับเขาด้วย
ในบางกรณี ผู้บริหารรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่อย่างไรก็ดี ถ้าเขาเกิดสามารถทำให้สถานการณ์นั้นดีขึ้นบ้าง ความรู้สึกของเขาก็ย่อมจะดีขึ้นแน่นอน เพราะฉะนั้นผู้บริหารงานที่ถูกอิทธิพลของลักษณะประจำตัวแบบประสิทธิภาพต่ำเข้าครอบงำ ควรอย่างยิ่งที่จะต้องตรึกตรองให้รอบคอบ และเข้าใจสภาวะการณ์ว่า สิ่งเลวร้ายต่างๆ ที่เขาเจอะเจอนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นกับเขาเพียงคนเดียว คนอื่นๆ ต่างก็ต้องเจอะเจอปัญหาด้วยกันทั้งสิ้น แต่จะมากหรือน้อยนั้นคืออยู่กับประสิทธิภาพและบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล
คุณลักษณะของผู้นำที่พึงประสงค์
องค์กรที่ทำงานซ้ำเดิม หากเจอกับคู่ค้าหรือลูกค้ากลุ่มเดิม ไม่มีคู่แข่งใหม่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก็จะสามารถคงตัวอยู่ได้ในระดับหนึ่ง แม้ว่าจะไม่มีผู้นำหรือผู้คอยบัญชาก็ตาม แต่หากเรานำผู้นำออกไปจากระบบทำงาน เราจะเห็นได้ว่าพนักงานที่ไม่มีแรงจูงใจในการทำงานส่วนมากก็จะตั้งใจทำงานน้อยลง เหมือนคำว่าแมวไม่อยู่หนูร่าเริง และเมื่อไรที่มีคนทำตัวขี้เกียจ พนักงานคนอื่นก็จะรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกเอาเปรียบอยู่ ก็จะทำตัวขี้เกียจตาม ดังนั้น เรามักจะพูดกันอยู่เสมอๆ ว่า กฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น หรือข้อยกเว้นอยู่เหนือกฎเกณฑ์เสมอ ซึ่งบ่อยครั้งที่ข้อยกเว้นบางอย่าง ทำให้เราสามารถเข้าใจในขอบเขตอันจำกัดของกฎเกณฑ์ได้ ตัวอย่างที่เราสามารถมองเห็นได้ชัดเจนคือ ในคนประเภทไม่ยอมตามใคร คนประเภทนี้จะไม่ชอบให้ใครมาสั่งเขาให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งในความรู้สึกของเขา จะไม่ต้องการผู้นำเลย และเขาจะชอบที่จะเป็นผู้นำของตัวเอง
ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าคนๆ นี้เป็นคนประเภทไหน และทำไมเขาจึงทำตัวเช่นนี้ หรืออาจจะเป็นเพราะว่าแต่ก่อนเขาเคยทำงานอยู่ใต้การปกครองที่เขาไม่พอใจมาก่อน ซึ่งผลก็ทำให้สิ่งเหล่านั้นทำให้เกิดแผลฝังลึกอยู่ในจิตใจของเขา ต่อไปไม่ว่าผู้นำที่เขาพบจะเป็นผู้นำประเภทไหนก็ตาม ก็จะกลายเป็นผู้ที่มาจำกัดเสรีภาพของเขาทั้งนั้น คนประเภทนี้จะเลือกงานที่เขารู้สึกว่ามีอิสระในเวลาทำงานมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปัญหาก็ยังมีต่ออีกว่าอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าคนประเภทนี้ได้เป็นผู้บริหารงาน คุณอาจจะเคยเห็นหรือเคยประสพมาแล้วก็ได้ แต่อาจจะแปลกใจที่ได้รู้ว่าแม้กรณีนี้จะเป็นกฎที่ได้รับยกเว้นก็ตาม แต่คนที่มีลักษณะไม่ยอมตามผู้อื่นจะมีแนวโน้มไปในทางไม่มีความเป็นผู้นำ เพราะฉะนั้นถ้าจำเป็นต้องมอบหมายการเป็นผู้นำให้เขา เขาก็จะทิ้งน้ำหนักลงไปที่สุดขั้วใดขั้วหนึ่งของระบบการปกครอง เขาอาจจะเป็นนักอัตตนิยมที่เข้มงวดรุนแรง หรืออาจแสดงออกมาว่าเขาขาดลักษณะผู้นำในทุกๆ รูปแบบอย่างสิ้นเชิงก็ได้

สรุป
หลักการบริหารองค์กรจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะการเข้าใจวัฒนธรรมองค์กร ก็เป็นหน้าที่หนึ่งของคนที่มีภาวะผู้นำ ซึ่งมีความสำคัญ แต่ก็ไม่ใช่สูตรสำเร็จเสมอไป เพราะทุกครั้งที่องค์กรประเชิญปัญหาหรือต้องการปรับตัว เหมือนคำพูดที่ว่า สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ ในช่วงที่องค์กรประสบปัญหา ความสำคัญของภาวะผู้นำจะอยู่ที่การตัดสินใจ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และการสร้างแรงจูงใจในผู้ติดตาม (ในการช่วยกันแก้ปัญหา) บางคนอาจจะบอกด้วยว่าความสำคัญของผู้นำอาจจะอยู่ที่ การเตรียมตัวล่วงหน้า เพื่อรองรับสถานการณ์พวกนี้ด้วยซ้ำ แต่อย่างไรก็ตาม กฎต่างๆ ก็ย่อมมีข้อยกเว้นอยู่ดี ประสบการณ์ที่ผ่านมาบางอย่างอาจจะทำให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีความรู้สึกไปในแนวแปลกเกี่ยวกับเรื่องการเป็นผู้นำและผู้ตามก็ได้ และความรู้สึกจากใจจริงของเขา อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เขามีความนิยมในลักษณะผู้นำที่แตกต่างไปจากผู้อื่นได้

-----------------------------
  • 0
  • 3 ปีที่ผ่านมา

รูปแบบ และแนวทางการลงผลงาน

รูปแบบการลงผลงาน

การลงผลงานให้อ่านใน ‘คลังความรู้.com’ จะแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบโดยผู้ลงผลงานสามารถเลือกได้เองอย่างอิสระ ดังนี้

รูปแบบที่ 1: เปิดให้บุคคลทั่วไปอ่านฟรี

ผู้ลงผลงานสามารถเปิดให้ผู้ที่ต้องการศึกษาเข้าอ่านได้ฟรี เพื่อเป็นการทดลองอ่านหรือโฆษณาผลงานชุดนั้นๆ โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้อง Login ก็สามารถเข้าอ่านได้ ขึ้นอยู่กับผู้ลงผลงานว่ามีความประสงค์ให้อ่านฟรีมากเท่าใด อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งชุด สิทธิ์ในการตัดสินใจเป็นของผู้ลงผลงานทั้งสิ้น อีกทั้งผู้ลงผลงานสามารถนำผลงานไปโปรโมท หรือเผยแพร่ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด

รูปแบบที่ 2: เปิดให้สมาชิกเท่านั้นที่อ่านฟรีได้

ผู้ลงผลงานสามารถติดไอคอน ‘เหรียญเงิน’ ในผลงานที่ผู้ลงผลงานต้องการสงวนไว้ให้เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่อ่านได้ ไอคอนเหรียญเงินที่ว่านี้จะทำให้ผู้อ่านเห็นคุณค่าของผลงานของท่าน และเหรียญเงินแต่ละดอกจะมีผลต่อการจัดอันดับ Top 10 ผลงานในแต่ละหมวดหมู่อีกด้วย

รูปแบบที่ 3: เปิดให้ผู้สนับสนุนเท่านั้นที่อ่านได้

ในกรณีที่ผู้ลงผลงานต้องการสร้างรายได้จากผลงานของท่าน ท่านสามารถเลือกที่จะติด ‘เหรียญทอง’ ในผลงานของท่านได้ โดยที่เหรียญเหล่านี้ ผู้ใช้บริการที่ต้องการจะสนับสนุนจะใช้เงินซื้อมาเพื่อแลกกับการอ่านผลงานของท่าน (ตามราคาที่ผู้ลงผลงานตั้งไว้ในแต่ละคอนเทนต์)

รูปแบบที่ 4: เปิดกว้างให้ทั้งสมาชิกและผู้สนับสนุนอ่านได้ทั้งคู่

ผู้ลงผลงานสามารถเลือกติดเหรียญเงินและเหรียญไปพร้อม ๆ กันได้ นั่นหมายความว่า ท่านยินดีที่จะให้สมาชิกอ่านฟรีและเปิดกว้างสำหรับผู้ที่พร้อมจะสนับสนุนไปด้วย ซึ่งวิธีนี้ก็จะดีมากสำหรับการโฆษณางานของตัวผู้ลงผลงานเองให้เป็นที่รู้จัก ผลงานของคุณจะไม่พลาดการจัดอันดับ Top 10 จากเหรียญเงินอีกทั้งยังสามารถได้รับการสนับสนุนจากผู้ใช้บริการในรูปแบบของเหรียญทองอีกด้วย

แนวทางการลงผลงาน

ข้อห้ามเกี่ยวกับผลงานที่นำมาลง

** ‘คลังความรู้.com’ ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับระดับการแสดงผลงาน หรือระงับการให้บริการผลงานแก่ผู้ลงผลงานที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยไม่มีการแจ้งหรือขออนุญาตล่วงหน้า
*** หากเกิดการฟ้องร้องใดๆ เกี่ยวกับผลงานของผู้ลงผลงาน ทาง ‘คลังความรู้.com’ จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกกรณี เนื่องจาก ‘คลังความรู้.com’ เป็นพื้นที่ที่ใช้ลงผลงานเท่านั้น