เมนูทั้งหมด
เมนูทั้งหมด

ข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้บริการ

  1. ผู้ลงผลงานอาจมีการนำเข้าหรือแชร์ลิงค์ออกไปยังเว็บไซต์อื่น หรือแพลตฟอร์มของบุคคลอื่น ในกรณีดังกล่าว หากเกิดปัญหาใดๆ หลังจากการแชร์ลิงค์ออกไปภายนอก จะไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของทาง ‘คลังความรู้.com’ ทุกกรณี
  2. เมื่อสมัครสมาชิกเพื่อลงผลงาน หรือใช้บริการ ทางเราอาจขอข้อมูลบางประการจากผู้สมัครโดยผู้สมัครสามารถสร้างข้อมูลสมาชิกต่าง ๆ ได้เอง เช่น ชื่อ นามสกุล เพศ วัน/เดือน/ปี เกิด หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ที่อยู่ หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาพถ่ายที่ผู้ใช้งานอาจทำการอัพโหลดเข้ามาในระบบ ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อมูลสมาชิกของที่ตนเองสร้างขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ รูปภาพหรือสถานที่ต่าง ๆ ท่านต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงความเสี่ยงในการแสดงข้อมูลนั้น ๆ
  3. หากผู้สมัครตัดสินใจเข้าใช้บริการ ‘คลังความรู้.com’ โดยผ่านบริการยืนยันตัวตนของผู้ให้บริการอื่น เช่น ผู้ให้บริการเฟสบุ๊คหรืออีเมล เป็นต้น ทางเราอาจได้รับข้อมูลประวัติหรือข้อมูลอื่นเพิ่มเติมตามที่ผู้ให้บริการรายดังกล่าวแสดงผลและกำหนดไว้
  4. ข้อมูลจากเว็บไซต์และอุปกรณ์เคลื่อนที่อาจมีการบันทึกข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ของเรา เช่น ข้อมูลที่ได้รับจากอุปกรณ์หรือเว็บบราวเซอร์ของผู้สมัคร รวมถึงไอพีแอดเดรส โดยการดำเนินการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นที่เว็บไซต์ ‘คลังความรู้.com’ หรือบนแพลตฟอร์มบุคคลภายนอกด้วย
  5. ‘คลังความรู้.com’ อาจใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมและควบคุมไว้เพื่อวิเคราะห์ปรับปรุงบริการด้านต่าง ๆ เพื่อให้บริการได้ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งาน ดังนั้นจึงอาจมีการติดต่อสมาชิกสำหรับการสื่อสารด้านการตลาดที่ได้รับอนุญาตผ่านช่องทางติดต่อสื่อสารใดๆ ที่ใช้การได้
  6. ข้อมูลที่ ‘คลังความรู้.com’ เก็บรวบรวมจะได้รับการปกป้องโดยขั้นตอนรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมตามสมควร เพื่อป้องกันการเข้าถึงหรือใช้ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น ผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามนโยบายที่ชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้อย่างเคร่งครัด โดยจะไม่กระทำการใดอันเป็นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้งานอื่นหรือบุคคลภายนอก ทั้งนี้หาก ‘คลังความรู้.com’ พบการล่วงละเมิดดังกล่าว เราขอสงวนสิทธิในการยกเลิกและปิดกั้นการเข้าใช้ของผู้ใช้งานผู้กระทำการล่วงละเมิดนั้น

    กรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคลและช่องทางติดต่อสื่อสารของผู้ใช้งานเสียหายหรือสูญหาย ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งรวมถึง การจารกรรมด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Hack) หรือวิธีการอื่น ‘คลังความรู้.com’ ขอสงวนสิทธิโดยไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายหรือสูญหายดังกล่าว หรือต่อความเสียหายสืบเนื่องใดๆ ทั้งสิ้น

  7. หลังจากซื้อผลงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ผลงานชิ้นนั้น ๆ จะถูกเก็บไว้ใน ‘คลัง’ ของผู้ใช้บริการเพื่อให้พร้อมเข้าอ่านได้ตลอดเวลา ผู้ใช้บริการจะสามารถเข้าอ่านได้ตลอดแม้ว่าผลงานชิ้นนั้นจะถูกลบออกจากหน้าเสนอขายไปแล้วก็ตาม
  8. ผู้ลงผลงานมีสิทธิในการอัพเดตและปรับเปลี่ยนเนื้อหาของผลงานที่ถูกซื้อไปแล้วได้ แต่ต้องผ่านการตรวจสอบจากระบบของเราก่อน
  9. ผู้ใช้บริการไม่มีสิทธินำผลงานที่ซื้อไว้ไปทำซ้ำ หรือเผยแพร่ต่อในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด
  10. ผู้ใช้บริการไม่สามารถขอคืนเงินได้ทุกกรณี หลังจากทำการซื้อไปแล้ว
cover
ความเข้าใจด้านสังคมวัฒนธรรม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • 0.0 (0)
  • |
  • ขายได้: 0
บทนำ
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาที่สะสมมานานแต่ครั้งอดีต มีความสลับซับซ้อนและมีความละเอียดอ่อน ดังนั้น ข้าราชการทุกระดับที่มีโอกาสลงไปปฏิบัติหน้าที่ จำเป็นที่จะต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งถึงสภาพปัญหา ตลอดจนมูลเหตุที่ฝ่ายก่อความไม่สงบ ใช้เป็นเงื่อนไขในการก่อความไม่สงบ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ข้าราชการระดับผู้ปฏิบัติ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจสถานการณ์อย่างลึกซึ้ง รวมทั้งจำเป็นจะต้องเข้าไปพบปะทำความเข้าใจกับประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งไม่เข้าใจสถานการณ์ และอาจตกเป็นเครื่องมือของผู้ก่อความไม่สงบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ระดับผู้ปฏิบัติ จะต้องมีพื้นฐานความรู้ เกี่ยวกับสถานการณ์การก่อความไม่สงบเป็นอย่างดี ทั้งนี้ เพื่อที่จะสามารถเป็นกำลังหลัก ในการปรับเปลี่ยนทัศนคติให้กับประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ ให้เข้าใจถึงสถานการณ์ ตลอดจนความจำเป็นในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อยุติเหตุการณ์ไม่สงบให้ได้ในเร็ว ฉะนั้นข้าราชการทุกภาคส่วน ที่จะเข้าไปปฏิบัติหน้าที่เพื่อแก้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความจำเป็นจะต้องมีความรู้ ใน 3 มิติ ด้วยกัน คือ
1) มิติสภาพสังคมจิตวิทยาของมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
2) มิติความรู้เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
3) มิติเกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่
ทั้งนี้ เพื่อมิให้เป็นเงื่อนไขที่ฝ่ายตรงข้ามยกมาอ้าง ซึ่งเป็นปัญหาที่อำนวยประโยชน์ต่อฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบ และบั่นทอนอำนาจรัฐให้อ่อนแอลง ซึ่งประกอบไปด้วย ปัญหาสังคมจิตวิทยา ปัญหาการเมืองท้องถิ่น ปัญหาผู้มีอิทธิพล ปัญหายาเสพติด ปัญหาการค้าอาวุธสงคราม และปัญหาการค้าของหนีภาษี แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงในด้านวัฒนธรรม และจารีตประเภณี เป็นสำคัญ ดังนี้
วิถีประชา
พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา, ปัตตานี และนราธิวาส) ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประมาณร้อยละ 75 มีสภาพความเป็นอยู่ทั้งพื้นที่ชนบท และในเมืองไม่แตกต่างกันนัก มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน โดยมีความผูกพันยึดเหนี่ยวกับศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม ชาวมุสลิมเหล่านี้มีความเชื่อถือ ยึดมั่น และเคร่งครัดในเรื่องศาสนาเป็นอย่างมาก มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย รักสงบ ไม่สนใจด้านการเมือง หัวอ่อนชักจูงง่าย รายได้ส่วนใหญ่ของประชากรมาจากผลผลิตภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก เช่น ปลูกยางพารา, ทำสวนผลไม้, ทำนา และการประมง
ชีวิตความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันยังใช้ภาษามาลายูพื้นเมือง (ภาษายาวี/มลายูถิ่น) การที่ประชาชนพูดภาษาไทยไม่ได้นั้น เป็นเพราะว่าประชาชนใน 3 จังหวัดดังกล่าว มีการติดต่อกับประชาชนในรัฐต่างๆ ของประเทศมาเลเซียอยู่เสมอ (รัฐกลันตัน เปรัค เคดาห์ เปอร์ลิส) ทำให้วัฒนธรรมทางภาษา และขนบธรรมเนียมประเภณีของประเทศมาเลเซีย ถูกถ่ายเทสับเปลี่ยนกันไปมากับทั้ง 3 จังหวัดภาคใต้ของไทย และประชาชนของทั้งสองฝ่ายมีการติดต่อค้าขายไปมาหาสู่กันเป็นประจำ ทำให้ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ภาษาไทย ผู้ที่พูดภาษาไทยได้ ส่วนมากเป็นข้าราชการและพ่อค้าประชาชน ที่อยู่ในบริเวณที่ตั้งตัวจังหวัด และอำเภอ ที่เหลืออยู่ก็เป็นชุมชนตามหมู่บ้านที่เรียงรายกันในบางตำบล และมักเป็นชุมชนที่แบ่งแยกจากชุมชนที่ใช้ภาษามลายู
การที่มีภาษาพูดแตกต่างไปจากประชาชนส่วนใหญ่ของชาติ ทำให้ชาวไทยมุสลิมสำคัญผิดไปว่าพวกตนไม่ใช่คนไทย จึงพยายามคิดแยกตัวออกจากประเทศไทย ทั้งนี้เพราะความไม่สามารถเข้าใจซึ่งกันและกันเป็นอันดับแรก และจะนำไปสู่ความรู้สึกแบ่งแยกในอันดับถัดไป เป็นผลให้ชาวไทยมุสลิมส่วนใหญ่ ลงความเห็นให้บุตรหลานของตนเรียนภาษามลายู และภาษาอาหรับ ด้วยเหตุนี้เองผู้นำทางศาสนาอิสลามบางคน ฉวยโอกาสในเรื่องภาษาหาประโยชน์เข้ากลุ่มตน สอนประชาชนให้เกลียดชังการเรียนภาษาไทย
ด้านศาสนา
1) อุดมการณ์ของอิสลาม
อิสลามได้ให้คำสอนอันเป็นธรรมนูญแห่งชีวิตแก่มวลมนุษย์ คำสอนอันมีระเบียบแบบแผนให้ปวงชนยึดมั่นอยู่ในศีลธรรม ความดีงาม รักเพื่อนมนุษย์ มีจิตใจโอบอ้อมอารี เพียบพร้อมด้วยขันติธรรม อยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความสงบสุข สอนให้มนุษย์ได้รู้จักพระผู้สร้างสากลและจักรวาล และบรรดาสรรพสิ่งทั้งมวลที่แท้จริง สอนให้ศึกษาและเข้าใจในพระคัมภีร์กุรอาน และพระวจนะ และจริยวัตรของพระศาสดา สอนให้รู้ถึงวิธีที่จะศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้านั้นอย่างไร และวิธีที่จะแสวงความสงบสุขแก่ชีวิต
2) คัมภีร์กุรอาน
เป็นชื่อคัมภีร์ที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม คำว่า “กุรอาน” แปลว่า การอ่าน หรือการกล่าว หรือการอภิปราย เป็นถ้อยคำของพระเจ้าคือพระอัลเลาะห์ เรียกในคำภาษาอาราบิคว่า “กาลามุลเลาะห์” ซึ่งภายหลังจากการมรณภาพของนบีโมฮัมหมัด ซึ่งเป็นศาสนทูตของพระอัลเลาะห์แล้ว จึงได้มีการรวบรวมถ้อยคำเหล่านี้เข้าเป็นเล่ม เป็นคัมภีร์กุรอานดังปรากฎอยู่ทุกวันนี้
พลเมืองของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้มีขนบธรรมเนียมประเภณี และภาษาพูด แตกต่างไปจากชาวไทยทั่วประเทศ ซึ่งนับถือศาสนาพุทธ เป็นเหตุให้คนไทยมุสลิม เกิดแยกตัวอยู่เสมอว่าตนเองไม่ใช่คนไทย แต่เป็นคนมลายูเช่นเดียวกับชาวมาเลเซีย ทั้งนี้เพราะการยึดมั่นถือมั่นในศาสนามากเกินไป
การที่ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดความรู้สึกแบ่งแยกเป็นคนละพวกกับคนไทย เป็นผลสืบเนื่องมาจากชาวไทยมุสลิมส่วนมาก ไม่รู้ซึ้งในแก่นแท้ของศาสนา คือรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง กอรปกับผู้นำทางศาสนาบางคน ได้ใช้ศาสนา และความศรัทธา เป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ โดยไม่ยอมสั่งสอนหลักที่ถูกต้อง กลับปิดบังหลักศาสนาที่แท้จริง บิดเบือน เพื่อประโยชน์ของตน
จารีต
1) การละหมาด
การละหมาด ถือเป็นหลักของศาสนาอิสลาม ที่มุสลิมทุกคนจะต้องปฏิบัติวันละ 5 เวลา โดยไม่มีการยกเว้น ไม่ว่าอยู่ในระหว่างการเดินทาง เจ็บป่วย ภาวะสงคราม แต่ผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องละหมาดได้แก่ หญิงขณะที่มีรอบเดือน และหลังการคลอดบุตร การละหมาดจะต้องปฏิบัติตั้งแต่บรรลุ ศาสนภาวะคือ หญิงตั้งแต่เริ่มมีรอบเดือนครั้งแรก และชายเมื่อเข้าสู่ความเป็นหนุ่มเริ่มมีน้ำอสุจิครั้งแรก โดยที่ชายและหญิงจะต้องละหมาดจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ในการละหมาดตอนบ่ายจะไปร่วมกันกระทำ ณ มัสยิด สำหรับวันศุกร์ซึ่งเป็นวันสำคัญประจำสัปดาห์ จะมีการแสดงธรรมกถาเพิ่มขึ้นอีกด้วย แต่ถ้าไม่สะดวก จะละหมาดที่บ้านของตนเองก็ใช้ได้
2) การถือศีลอดในเดือนรอมฏอน
การถือศีลอด เป็นข้อบัญญัติที่บังคับให้มุสลิมทุกคนจะต้องปฏิบัติ คือเดือน 9 แห่งศักราชอิสลาม ซึ่งเรียกว่าเดือนรอมฏอน การถือศีลอดเป็นการห้ามกิน ห้ามดื่มทุกชนิด ระหว่างก่อนดวงอาทิตย์จะขึ้น จนกระทั่งพระอาทิตย์ตก
3) การประกอบพิธีฮัจย์
ฮัจย์ เป็นบทบัญญัติที่ให้ชาวมุสลิม จะต้องเดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนาที่นครมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ระยะเวลาที่จะปฏิบัติคือ วันที่ 9 – 13 เดือน 11 ทางฮิจเราะห์ศักราช เป็นการประกอบศาสนกิจที่กระทำเพียงครั้งเดียวในชีวิต แต่เป็นการบังคับเฉพาะผู้ที่อยู่ในสภาพ ที่มีความสามารถ เพียงพอที่จะปฏิบัติได้ คือ มีความพร้อมทั้งด้านร่างกายและทรัพย์สินเงินทอง โดยครอบครัวที่อยู่ข้างหลังไม่ลำบาก ผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์มาแล้ว จะมีคำหน้านามว่า “ฮัจยี” สำหรับผู้ชาย และ “ฮัจยะห์” สำหรับผู้หญิง
กฎหมาย
1) กฎหมายอิสลาม
เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2444 สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเกี่ยวกับมรดก โดยมีดาโต๊ะยุติธรรม เป็นผู้พิจารณาตัดสินคดี สาเหตุที่ต้องมีกฎหมายอิสลามบังคับใช้ ก็เพราะผู้ชายสามารถมีภรรยาได้ถึง 4 คน ซึ่งหากใช้บทบัญญัติของกฎหมายอื่น อาจทำให้มีปัญหาได้
2) สิ่งต้องห้ามสำหรับมุสลิม
1) การกราบไหว้สิ่งอื่นนอกจากพระอัลเลาะห์
2) การเคารพสักการะบูชา หรือกราบไหว้รูปปั้น รูปถ่าย เหรียญ เครื่องรางของขลังต่างๆ
3) การเคารพสักการะบูชาธรรมชาติ เช่น จอมปลวก ต้นไม้ เจ้าที่ และสิ่งแปลกประหลาดต่างๆ
4) การทำเสน่ห์ลงคาถาอาคม ทั้งในฐานะผู้กระทำ และไปให้ผู้อื่นกระทำให้
5) การเป็นหมอดูทำนายโชคชะตา หรือการผูกดวง
6) การทำบุญสะเดาะเคราะห์ ต่ออายุเข้าเบญจเพศ
7) ห้ามชายเที่ยวในสถานเริงรมย์ต่างๆ เพื่อที่จะรับบริการหรือความเพลิดเพลินจากหญิง หรือเพื่อปลดปล่อยอารมณ์เพศ
8) ห้ามการรักร่วมเพศระหว่างชายกับชาย และระหว่างหญิงกับหญิง
9) ห้ามคุมกำเนิดโดยไม่มีความจำเป็นต่อสุขภาพมารดา
10) ห้ามในเรื่องของดอกเบี้ย ทั้งเป็นผู้รับและผู้ให้ ตลอดจนเป็นพยาน
11) ห้ามเสี่ยงโชคและการพนันทุกชนิด เช่น ลอตเตอรรี่ หวย ไพ่ ไฮโล และเกมส์การพนันต่างๆ
12) ห้ามนำศพของมุสลิมไปผ่าเพื่อพิสูจน์ หรือเพื่อเป็นอาจารย์ในการศึกษาทดลอง
13) ห้ามนำศพมุสลิมไปเผา ห้ามมุสลิมไปทำพิธีเผาศพ ตลอดจนร่วมเป็นเจ้าภาพในงานสวดศพ หรือเผาศพ และห้ามแต่งกายชุดดำ เพื่อเจตนาไว้ทุกข์แก่คนตาย
14) ห้ามเป็นเจ้าภาพ ร่วมทำบุญ ร่วมขบวน ร่วมศาสนพิธีของศาสนาอื่น เช่น ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า
สรุป
จากความแตกต่างในด้านสังคม วัฒนธรรม และจารีตประเภณีดังกล่าว ส่งผลให้กลายเป็นจุดอ่อนในกลุ่มผู้ไม่หวังดีใช้เป็นเงื่อนไขบ่อนทำลาย และก่อการร้ายด้วยรูปแบบต่างๆ ยุยงให้เกิดความเข้าใจผิด สร้างความแตกแยก ทำการก่อกวน สร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย โดยการข่มขู่กรรโชกทรัพย์ และทำลายทรัพย์สินของทางราชการ การกระทำเหล่านี้มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน กระทบต่อการพัฒนาและการลงทุนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีความละเอียดอ่อนแตกต่างจากภูมิภาคอื่นของประเทศ เนื่องจากเกี่ยวกับศาสนา และสะสมมาเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง และความสงบเรียบร้อย จนเกิดภาพลักษณ์ในเชิงลบตลอดมา

*******************
  • 0
  • 2 ปีที่ผ่านมา

รูปแบบ และแนวทางการลงผลงาน

รูปแบบการลงผลงาน

การลงผลงานให้อ่านใน ‘คลังความรู้.com’ จะแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบโดยผู้ลงผลงานสามารถเลือกได้เองอย่างอิสระ ดังนี้

รูปแบบที่ 1: เปิดให้บุคคลทั่วไปอ่านฟรี

ผู้ลงผลงานสามารถเปิดให้ผู้ที่ต้องการศึกษาเข้าอ่านได้ฟรี เพื่อเป็นการทดลองอ่านหรือโฆษณาผลงานชุดนั้นๆ โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้อง Login ก็สามารถเข้าอ่านได้ ขึ้นอยู่กับผู้ลงผลงานว่ามีความประสงค์ให้อ่านฟรีมากเท่าใด อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งชุด สิทธิ์ในการตัดสินใจเป็นของผู้ลงผลงานทั้งสิ้น อีกทั้งผู้ลงผลงานสามารถนำผลงานไปโปรโมท หรือเผยแพร่ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด

รูปแบบที่ 2: เปิดให้สมาชิกเท่านั้นที่อ่านฟรีได้

ผู้ลงผลงานสามารถติดไอคอน ‘เหรียญเงิน’ ในผลงานที่ผู้ลงผลงานต้องการสงวนไว้ให้เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่อ่านได้ ไอคอนเหรียญเงินที่ว่านี้จะทำให้ผู้อ่านเห็นคุณค่าของผลงานของท่าน และเหรียญเงินแต่ละดอกจะมีผลต่อการจัดอันดับ Top 10 ผลงานในแต่ละหมวดหมู่อีกด้วย

รูปแบบที่ 3: เปิดให้ผู้สนับสนุนเท่านั้นที่อ่านได้

ในกรณีที่ผู้ลงผลงานต้องการสร้างรายได้จากผลงานของท่าน ท่านสามารถเลือกที่จะติด ‘เหรียญทอง’ ในผลงานของท่านได้ โดยที่เหรียญเหล่านี้ ผู้ใช้บริการที่ต้องการจะสนับสนุนจะใช้เงินซื้อมาเพื่อแลกกับการอ่านผลงานของท่าน (ตามราคาที่ผู้ลงผลงานตั้งไว้ในแต่ละคอนเทนต์)

รูปแบบที่ 4: เปิดกว้างให้ทั้งสมาชิกและผู้สนับสนุนอ่านได้ทั้งคู่

ผู้ลงผลงานสามารถเลือกติดเหรียญเงินและเหรียญไปพร้อม ๆ กันได้ นั่นหมายความว่า ท่านยินดีที่จะให้สมาชิกอ่านฟรีและเปิดกว้างสำหรับผู้ที่พร้อมจะสนับสนุนไปด้วย ซึ่งวิธีนี้ก็จะดีมากสำหรับการโฆษณางานของตัวผู้ลงผลงานเองให้เป็นที่รู้จัก ผลงานของคุณจะไม่พลาดการจัดอันดับ Top 10 จากเหรียญเงินอีกทั้งยังสามารถได้รับการสนับสนุนจากผู้ใช้บริการในรูปแบบของเหรียญทองอีกด้วย

แนวทางการลงผลงาน

ข้อห้ามเกี่ยวกับผลงานที่นำมาลง

** ‘คลังความรู้.com’ ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับระดับการแสดงผลงาน หรือระงับการให้บริการผลงานแก่ผู้ลงผลงานที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยไม่มีการแจ้งหรือขออนุญาตล่วงหน้า
*** หากเกิดการฟ้องร้องใดๆ เกี่ยวกับผลงานของผู้ลงผลงาน ทาง ‘คลังความรู้.com’ จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกกรณี เนื่องจาก ‘คลังความรู้.com’ เป็นพื้นที่ที่ใช้ลงผลงานเท่านั้น