เมนูทั้งหมด
เมนูทั้งหมด

ข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้บริการ

  1. ผู้ลงผลงานอาจมีการนำเข้าหรือแชร์ลิงค์ออกไปยังเว็บไซต์อื่น หรือแพลตฟอร์มของบุคคลอื่น ในกรณีดังกล่าว หากเกิดปัญหาใดๆ หลังจากการแชร์ลิงค์ออกไปภายนอก จะไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของทาง ‘คลังความรู้.com’ ทุกกรณี
  2. เมื่อสมัครสมาชิกเพื่อลงผลงาน หรือใช้บริการ ทางเราอาจขอข้อมูลบางประการจากผู้สมัครโดยผู้สมัครสามารถสร้างข้อมูลสมาชิกต่าง ๆ ได้เอง เช่น ชื่อ นามสกุล เพศ วัน/เดือน/ปี เกิด หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ที่อยู่ หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาพถ่ายที่ผู้ใช้งานอาจทำการอัพโหลดเข้ามาในระบบ ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อมูลสมาชิกของที่ตนเองสร้างขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ รูปภาพหรือสถานที่ต่าง ๆ ท่านต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงความเสี่ยงในการแสดงข้อมูลนั้น ๆ
  3. หากผู้สมัครตัดสินใจเข้าใช้บริการ ‘คลังความรู้.com’ โดยผ่านบริการยืนยันตัวตนของผู้ให้บริการอื่น เช่น ผู้ให้บริการเฟสบุ๊คหรืออีเมล เป็นต้น ทางเราอาจได้รับข้อมูลประวัติหรือข้อมูลอื่นเพิ่มเติมตามที่ผู้ให้บริการรายดังกล่าวแสดงผลและกำหนดไว้
  4. ข้อมูลจากเว็บไซต์และอุปกรณ์เคลื่อนที่อาจมีการบันทึกข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ของเรา เช่น ข้อมูลที่ได้รับจากอุปกรณ์หรือเว็บบราวเซอร์ของผู้สมัคร รวมถึงไอพีแอดเดรส โดยการดำเนินการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นที่เว็บไซต์ ‘คลังความรู้.com’ หรือบนแพลตฟอร์มบุคคลภายนอกด้วย
  5. ‘คลังความรู้.com’ อาจใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมและควบคุมไว้เพื่อวิเคราะห์ปรับปรุงบริการด้านต่าง ๆ เพื่อให้บริการได้ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งาน ดังนั้นจึงอาจมีการติดต่อสมาชิกสำหรับการสื่อสารด้านการตลาดที่ได้รับอนุญาตผ่านช่องทางติดต่อสื่อสารใดๆ ที่ใช้การได้
  6. ข้อมูลที่ ‘คลังความรู้.com’ เก็บรวบรวมจะได้รับการปกป้องโดยขั้นตอนรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมตามสมควร เพื่อป้องกันการเข้าถึงหรือใช้ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น ผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามนโยบายที่ชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้อย่างเคร่งครัด โดยจะไม่กระทำการใดอันเป็นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้งานอื่นหรือบุคคลภายนอก ทั้งนี้หาก ‘คลังความรู้.com’ พบการล่วงละเมิดดังกล่าว เราขอสงวนสิทธิในการยกเลิกและปิดกั้นการเข้าใช้ของผู้ใช้งานผู้กระทำการล่วงละเมิดนั้น

    กรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคลและช่องทางติดต่อสื่อสารของผู้ใช้งานเสียหายหรือสูญหาย ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งรวมถึง การจารกรรมด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Hack) หรือวิธีการอื่น ‘คลังความรู้.com’ ขอสงวนสิทธิโดยไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายหรือสูญหายดังกล่าว หรือต่อความเสียหายสืบเนื่องใดๆ ทั้งสิ้น

  7. หลังจากซื้อผลงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ผลงานชิ้นนั้น ๆ จะถูกเก็บไว้ใน ‘คลัง’ ของผู้ใช้บริการเพื่อให้พร้อมเข้าอ่านได้ตลอดเวลา ผู้ใช้บริการจะสามารถเข้าอ่านได้ตลอดแม้ว่าผลงานชิ้นนั้นจะถูกลบออกจากหน้าเสนอขายไปแล้วก็ตาม
  8. ผู้ลงผลงานมีสิทธิในการอัพเดตและปรับเปลี่ยนเนื้อหาของผลงานที่ถูกซื้อไปแล้วได้ แต่ต้องผ่านการตรวจสอบจากระบบของเราก่อน
  9. ผู้ใช้บริการไม่มีสิทธินำผลงานที่ซื้อไว้ไปทำซ้ำ หรือเผยแพร่ต่อในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด
  10. ผู้ใช้บริการไม่สามารถขอคืนเงินได้ทุกกรณี หลังจากทำการซื้อไปแล้ว
cover
รัฐสภาแห่งใหม่ ยิ่งใหญ่อลังการ (กว่าจะมาถึงจุดนี้)
  • 0.0 (0)
  • |
  • ขายได้: 0
ความเป็นมา
ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะสร้างในหลายยุคสมัยแล้ว โดยมีสถานที่ให้เลือกหลายแห่ง อาทิ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี โรงงานไทเมล่อนเท็คไทร์ ย่านรังสิต จ.ปทุมธานี กองคลังแสงของกรมสรรพาวุธทหารบก สนามบินดอนเมือง และสนามกอล์ฟชลประทาน ย่านปากเกร็ด แต่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีผู้ไม่เห็นด้วย และถูกต่อต้านจากผู้ที่ได้รับผลกระทบ เช่น ที่สนามกอล์ฟชลประทาน ซึ่งถูกคัดค้านอยากหนัก รัฐบาลจึงจำต้องยอมถอยในที่สุด จะเห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น น่าจะเกิดจากฝ่ายการเมือง เนื่องจากการบริหารจัดการ ไม่โปร่งใส ไม่มีการประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ก่อน เป็นอันดับแรก
อย่างไรก็ตาม อาคารรัฐสภาได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2556 ด้วยงบประมาณกว่า 12,000 ล้านบาท มีพื้นที่ใช้สอย 424,000 ตารางเมตร บนเนื้อที่ประมาณ 120 ไร่ ตัวอาคารมีทั้งสิ้น 11 ชั้น แบ่งเป็นส่วนของ สภาผู้แทนราษฎรทางทิศเหนือ มีห้องประชุมพระสุริยัน สำหรับประชุม ส.ส.และประชุมร่วมรัฐสภา และส่วนของ ส.ว. ทางทิศใต้ มีห้องประชุมพระจันทรา สำหรับประชุม ส.ว. ปัจจุบันใกล้จะแล้วเสร็จสมบูรณ์และจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พ.ค. 64 จึงขอเรียบเรียงลำดับเหตุการณ์ดังนี้

1. ความเห็นของกลุ่มผู้คัดค้าน
ในสมัยรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ซึ่งข้อเท็จจริง แม้รัฐบาลจะมีอำนาจที่จะดำเนินการได้ตามกฎหมายก็ตาม แต่ว่าวิธีการและวิธีปฏิบัติ ทำให้สาธารณชน มิอาจคลายข้อสงสัยข้อกังวลได้ ต่อคำถามที่ว่า ทำไมจึงต้องเร่งรีบ รวบรัดอนุมัติโครงการ ทั้งที่น่าจะทำเรื่องอื่นที่สำคัญและเร่งด่วนกว่า แต่ก็ไม่เป็นผล โดยมีผู้ตั้งข้อสงสัยดังนี้
1) พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ในขณะนั้น) ได้ให้ความเห็นว่า รัฐบาลน่าละอายที่ตอบเด็กไม่ได้ กรณีเด็กถามว่า ถ้าย้ายอาคารรัฐสภาแล้วการเมืองดีขึ้นหรือไม่ ชี้สร้างไปแล้วได้อะไร โดยเห็นว่า ไม่ควรสร้างรัฐสภาในตอนที่ข้าวยากหมากแพง เศรษฐกิจตกต่ำถึงที่สุด โดยเฉพาะการเอาเงินภาษีกว่า 19,000 พันล้านบาท ของประชาชนมาใช้ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบ หรือความเดือดร้อนของประชาชน ถามว่า ทำไมต้องสร้างรัฐสภาใหม่ทั้งๆ ที่เดิมนั้นยังสามารถรองรับผู้แทนราษฎรได้ บางวันมี ส.ส.เข้าประชุมเพียงไม่กี่คน ดูโหรงเหรง แล้วทำไมจะต้องไปสร้างใหม่ รัฐบาลมีอะไรแอบแฝงหรือไม่ รัฐบาลคาดหวังอนุมัติโครงการใหญ่เป็นหมื่นล้านบาท โดยที่ผลประโยชน์ตกไปอยู่กับคนบางคนบางกลุ่มเท่านั้น แต่ประชาชนกลับเป็นผู้เสียผลประโยชน์ มิหนำซ้ำกับข้ออ้างความคับแคบของรัฐบาลยิ่งฟังไม่ขึ้น ยังมีเนื้อที่ให้ได้ใช้สอยอีกเป็นจำนวนมาก การเดินทางไปมาก็สะดวก และที่สำคัญแทนที่จะอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไว้ “ไม่อายหรือ ที่ให้เด็กมาย้อนถามว่า หากสร้างรัฐสภาใหม่แล้ว การเมืองมันจะดีขึ้นหรือไม่ มิหนำซ้ำเงินที่นำไปลงทุน คิดเป็นตัวเลขมันก็ไม่คุ้มแล้ว ทำไมจะไปทุบตึกที่ยังมีสภาพการใช้งานที่ดีมาเป็นเศษปูน เพื่อที่จะก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ให้ได้ มันไม่เกิดผลประโยชน์อะไรขึ้นมาเลย”
2) นายศักดา คงเพชร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคพลังประชาชน แกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา ศิษย์เก่าโยธินบูรณะ ได้ออกโรงค้านการสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ย่านเกียกกาย พร้อมได้ตั้งข้อสังเกตว่าเร่งรีบผิดปกติ แนะควรศึกษาพื้นที่ก่อสร้างให้รอบคอบก่อน ทั้งนี้จะหารือกับกลุ่มอีสานพัฒนา และศิษย์เก่าว่า มีความจำเป็นต้องการก่อสร้างในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้หรือไม่ ตนในฐานะศิษย์เก่า รู้สึกใจหาย แม้เป็นนโยบายของรัฐบาล และประธานรัฐสภา ที่เข้ามารับตำแหน่งได้ประกาศเป็นเรื่องแรก แต่ในส่วนของโรงเรียนนั้นตั้งมานานแล้ว ทุกคนที่เรียนที่นี่มีความผูกพันทางใจ จึงเห็นว่าน่าจะมีการศึกษาพื้นที่ก่อสร้างให้รอบคอบก่อน
3) ศ.ดร.ภูวดล ทรงประเสริฐ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้กล่าวเตือนสติไปยังรัฐบาลในขณะนั้น ถึงความพยายามผลักดันก่อสร้างรัฐสภาใหม่ โดยไม่สนใจเสียงคัดค้านว่า รัฐบาลกำลังสมรู้ร่วมคิดกับผู้นำรัฐสภา และ ส.ส. ทำการรุกไล่ที่ของชุมชน โรงเรียนที่ตั้งอยู่บริเวณเกียกกาย เป็นการกระทำที่โหดร้ายและทารุณมาก “วันนี้รัฐบาลควรจะสร้าง Baracoon ที่แปลว่า คอกขังสัตว์ จะเหมาะสมว่า เพราะ Baracoon ที่ว่านี้เหมาะสมอย่างยิ่งกับ ส.ส.เฮงซวย หรือ ส.ส.ที่ซื้อสิทธิ์ขายเสียง ด้วยการมอมเมาประชาชนที่ยากไร้ในภาคเหนือ ภาคอีสาน ต้องจับเอา ส.ส.จำพวกนี้มาขังไว้ แล้วนำไปปล่อยในเขาดิน อย่าได้ปล่อยให้ออกไปเพ่นพ่าน สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน” ศ.ดร.ภูวดล กล่าวอีกว่า ยังไม่เห็นความจำเป็นที่รัฐบาลจะมาถลุงงบประมาณ ด้วยการสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ เพราะสถานที่ตั้งเดิมก็เหมาะสมอยู่แล้ว อย่าได้พยายามไปลอกเลียนแบบรูปแบบวัฒนธรรมต่างประเทศมาใช้กับประเทศไทย เท่าที่เห็นรัฐสภาไทยวันนี้ ก็ไม่แตกต่างอะไรกับสถานที่ส่องสุ่มของพวก ผู้มีอิทธิพล พ่อค้ายาเสพติด นักเลงหัวไม้ ที่ชอบอ้างตัวว่าเป็นผู้ทรงเกียรติในสภา
4) นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ในขณะนั้น) ได้กล่าวถึงกรณีที่นักเรียนโรงเรียนโยธินบูรณะ จำนวน 500 คน เดินทางมารัฐสภาเพื่อคัดค้านการสร้างสภาแห่งใหม่ ซึ่งนายกฯ และประธานรัฐสภา หักเอางบประมาณ 6 พันล้านบาท ไปจ่ายชดเชยเป็นค่าสถานที่ก่อสร้าง โดยที่แบบแปลนก็ยังไม่มี เงินประมาณก่อสร้างจะใช้ทั้งหมดเท่าไหร่ก็ยังไม่ชัดเจน ส่วนสาเหตุที่นักเรียนที่มาประท้วงแล้วร้องไห้นั้น ไม่ได้ร้องไห้เพราะเสียดายโรงเรียน แต่ร้องไห้เพราะเห็นผู้ใหญ่รับประทานกันมากเหลือเกิน และว่า การก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ใช้เงินงบประมาณ เฉพาะค่าออกแบบ 5 พันล้านบาท และงบค่าก่อสร้างอีกกว่า 3 หมื่นล้านบาท เพื่อแลกกับการต้องย้ายโรงเรียนโยธินบูรณะออกไป ทั้งที่เป็นการก่อสร้างที่ผิดหลักการ เพราะสร้างในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น ซึ่งเป้าหมายที่แท้จริงคือ การหวังเงินเปอร์เซ็นต์จากงบประมาณหรือไม่

2. ปัญหาอุปสรรคระหว่างดำเนินโครงการ
ในระหว่างการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ล่าสุดกำลังถูกตั้งคำถามถึงความ (ไม่) คืบหน้าในการก่อสร้าง หลังจากที่เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา นายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการรัฐสภา ได้ลงนามขยายสัญญาการก่อสร้าง จากเดิมที่จะต้องแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2562 นี้ ออกไปเป็นรอบที่ 4 อีก 382 วัน (16 ธ.ค. 62-31 ธ.ค. 63) หรืออีก 1 ปีเศษ โดยอ้าง 2 เหตุผล คือ ความล่าช้าของงบประมาณเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จึงทำให้ได้ผู้รับเหมาก่อสร้างล่าช้า และความล่าช้าจากการหาผู้รับเหมางานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ งานประกอบอาคาร และภายนอกอาคาร ประเด็นดังกล่าวตามมาด้วยข้อเคลือบแคลง จนมีคำถามจากสังคม โดยเฉพาะความโปร่งใสของการต่อสัญญาว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่อาจมิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ด้านมุมของอดีตมือปราบประจำสภาฯ อย่าง นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีตประธานคณะกรรมาธิการการ (กมธ.) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่มองว่า ไม่ควรต่อสัญญาการก่อสร้าง แต่ควรให้ผู้รับจ้างจ่ายค่าปรับ ซึ่งตามสัญญาต้องจ่าย 12.28 ล้านบาทต่อวัน ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ได้มีการขยายสัญญาก่อสร้างด้วยเหตุผลลักษณะเดียวกันถึง 3 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 จำนวน 387 วัน (25 พ.ย.2558-15 ธ.ค.2559 โดยสำนักงานเลขาธิการสภาฯ ให้เหตุผลว่า ผู้ว่าจ้างส่งมอบพื้นที่ล่าช้าและปัญหาอุปสรรคการนำดินขุดที่เหลือใช้จากการก่อสร้างเสาเข็มนำออกไปไว้นอกโครงการก่อสร้าง
ครั้งที่ 2 จำนวน 421 วัน (16 ธ.ค.2559-9 ก.พ.2561) ด้วยเหตุผลความล่าช้าในการย้ายดินขุด เพื่อก่อสร้างชั้นใต้ดิน
และครั้งที่ 3 จำนวน 674 วัน (10 ก.พ.2561-15 ธ.ค.2562) จากปัญหาอุปสรรคความล่าช้าในการส่งมอบพื้นที่ครั้งที่ 4 บริเวณโรงเรียนโยธินบูรณะ พื้นที่ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ดุสิต และศูนย์สาธารณสุข 38 กทม. พื้นที่ชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า และพื้นที่บ้านพักข้าราชการกรมการอุตสาหกรรมทหาร
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการก่อสร้างที่ยืดเยื้อ ย่อมส่งผลถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะนับตั้งแต่สภาฯได้เซ็นสัญญากับ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้เสนอราคาก่อสร้างและอาคารประกอบต่ำสุดที่ 12,280 ล้านบาท (เฉพาะงานอาคาร/สถาปัตยกรรม/งานภายนอก) นำไปสู่การลงนามร่วมกัน ในวันที่ 30 เม.ย.2556 จากนั้นสภาฯ ได้ขอเพิ่มงบฯ ก่อสร้างอีกหลายครั้ง ดังนี้
- เมื่อ 15 พ.ค. 61 คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเพิ่มงบ 512 ล้านบาท (จากที่สภาฯ เสนอ 8,648 ล้านบาท ตีกลับงบฯ ไอที 8,135 ล้านบาท)
- 20 ส.ค. 61 ครม.อนุมัติเพิ่มงบอีก 4,000 ล้าน (ในส่วนของงบไอที) ยังไม่นับรวมกับที่สภาฯ เตรียมแปรญัตติขอเพิ่มงบฯ ในปี 2563 โดยจะเสนอรายละเอียดต่อ กมธ.งบประมาณในวันที่ 16 ธ.ค.นี้ ซึ่งต้องจับตาว่าจะมีมูลค่าอีกเท่าไร

3. ความคืบหน้าโครงการ
เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 64 นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ว่า ในวันที่ 1 พ.ค. 64 นี้ รัฐสภาจะเปิดใช้อาคารอย่างเต็มรูปแบบ หลังจากใช้เวลาก่อสร้างมานาน 8 ปีเต็ม และเป็นอาคารรัฐสภาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขณะนี้สร้างเสร็จแล้ว เกือบ 99% อยู่ระหว่างการปรับภูมิทัศน์ และส่งมอบงาน ส่วนงานระบบทั้งหมด เสร็จเกือบ 100% แล้ว โดยที่ผ่านมาเปิดใช้เพียงพื้นที่การประชุมของ ส.ส. และ ส.ว. เท่านั้น แต่ยังมีพื้นที่ส่วนกลาง ที่ยังไม่ได้เปิดใช้ โดยจุดเด่นสำคัญ คือเครื่องยอดทองคำ ที่เป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมร ในคติความเชื่อทางศาสนา “หลักไตรภูมิ” ผู้ออกแบบคือ รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี และ อ.เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาสถาปัตยกรรมไทย โดยหวังสืบสานงานสถาปัตยกรรมไทยที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งหลักไตรภูมิ ถือเป็นพื้นฐานของสังคมไทย สะท้อนถึงการประกอบคุณงามความดี ทำให้เป็นสถานที่ที่ “ใครทำดีได้ดี ใครทำชั่วได้ชั่ว”
ส่วนเบื้องล่างของเครื่องยอด เป็น “โถงรัฐพิธี” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะเสด็จพระราชดำเนินมาในการรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมรัฐสภาขึ้นครั้งแรก หลังการเลือกตั้งทุกสมัย ภายในตกแต่งด้วยงานจิตรกรรมฝาผนัง ของสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร มีการวาดภาพเรื่องราวสังคมไทยทั่วทุกภาค นอกจากนั้นมีการเพิ่มภาพประชาชนสวมหน้ากาก ป้องกันโควิด-19 เพื่อบันทึกเหตุการณ์บ้านเมืองปัจจุบันด้วย ทั้งนี้ อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ เกิดขึ้นเพื่อให้คนไทยได้มีความภาคภูมิใจในศิลปะความเป็นไทย โดยจะเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้เยี่ยมชมเรียนรู้ประวัติศาสตร์ทางการเมือง ผ่านพิพิธภัณฑ์ประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังมีลานประชาชน ให้ประชาชนได้เข้าใช้บริการด้วย โดยจะเริ่มรื้อรั้วโดยรอบการก่อสร้างออกตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย. 64 นี้เป็นต้นไป

4. เรื่องน่ารู้ของอาคารรัฐสภาไทยแห่งใหม่
หลังจากปิดตำนานอาคารรัฐสภาแห่งเดิมที่ใช้มายาวนานกว่า 44 ปี วันนี้ อาคารรัฐสภาไทยแห่งใหม่ได้เปิดใช้งานมาเป็นเวลา 1 ปีแล้ว กับโครงการก่อสร้างที่มีความสำคัญระดับชาติ เรียกได้ว่าเป็นเมกะโปรเจกต์ มีการประกวดแบบที่ถือว่าเป็นครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศ นับจากการประกวดแบบสนามบินสุวรรณภูมิ อาคารรัฐสภาไทยแห่งนี้ จึงกลายเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของประเทศริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งยังเป็นสถานที่ที่รวมความน่าสนใจกับความเป็นที่สุดไว้อีกมากมาย
1) สถาปัตยกรรมสะท้อนความเป็นไทย มีการศึกษาและถอดรหัสสถาปัตยกรรมแบบแผน “ไตรภูมิ” จากสถาปัตยกรรมด้านจิตวิญญาณของไทยมาใช้ในการออกแบบวางผัง อาคารรัฐสภาแห่งนี้มีชื่อว่า “สัปปายะสภาสถาน” มีความหมายเป็นสถานที่ประกอบกรรมดี รูปแบบอาคารมีการออกแบบตกแต่งตามแบบไทยประยุกต์ มีลักษณะที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถาปัตยกรรมร่วมสมัย แสดงถึงความเป็นชาติไทยอย่างชัดเจน เป็นการสืบสานศิลปะ วัฒนธรรม คติความเชื่อ และภูมิปัญญาไทย นับเป็นสถานที่ที่มีความสมบูรณ์และสง่างามที่สุดแห่งหนึ่งของไทย
2) อาคารรัฐสภาที่ใหญ่ที่สุดในโลก สัปปายะสภาสถาน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในย่านเกียกกาย บนพื้นที่ประมาณ 119 ไร่ และมีพื้นที่ใช้สอยในอาคาร ถึง 424,000 ตารางเมตร ทำให้เมื่อก่อสร้างเสร็จ สัปปายะสภาสถาน จะเป็นอาคารรัฐสภาที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นอาคารของรัฐที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากอาคารเดอะเพนตากอนในสหรัฐอเมริกา ที่มีพื้นที่ 600,000 ตารางเมตร
3) รัฐสภาแห่งแรกในโลกที่พร้อมใช้เทคโนโลยี 5G รัฐสภาไทย เป็นรัฐสภาแห่งแรกในโลกที่พร้อมใช้เทคโนโลยี 5G โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มทรู ในการศึกษาทดสอบเทคโนโลยี 5G พร้อมนำเทคโนโลยีล้ำสมัยต่างๆมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ, ระบบ IoT, ระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ ในอนาคต เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ True5G ที่ไม่ใช่แค่สัญญาณมือถือแต่เป็นสัญญาณที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศ ให้มีอัจฉริยภาพที่เหนือกว่าอย่างยั่งยืน เติมเต็มการทำงานในรูปแบบใหม่ของรัฐสภาในยุคดิจิทัล นำไปสู่การให้บริการที่ดี สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ และเป็นโอกาสสร้างองค์ความรู้ในเทคโนโลยี 5G นำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรมตอบโจทย์แนวทางรัฐบาลดิจิทัล
4) ล้ำสมัยกับหุ่นยนต์ต้อนรับ ยกระดับ SMART Parliament ที่รัฐสภาใหม่นี้ มีหุ่นยนต์อัจฉริยะ True5G Temi Connect & Carebot ที่เชื่อมโยงการควบคุมและสั่งการผ่านเครือข่าย True5G ทำหน้าที่ต้อนรับและสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ที่มาติดต่อ ไม่ว่าจะเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และประชาชนผู้ใช้บริการอาคารรัฐสภา สามารถให้ข้อมูลข่าวสาร ช่วยนำทางไปยังห้องประชุมหรือหน่วยงานต่างๆในอาคารได้อย่างสะดวกสบาย และให้บริการวิดีโอ คอลล์ (Video Call) อำนวยความสะดวกให้ผู้มาติดต่อสามารถประสานงานกับหน่วยงานภายในอาคารได้ง่ายๆ และทันสมัย เสริมระบบการปฎิบัติงานและการให้บริการในรูปแบบ Digital & SMART Parliament
5) สถาปัตยกรรมสีเขียว อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ออกแบบให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ด้วยแนวคิด สถาปัตยกรรมสีเขียว หรือ Green Architecture ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและสร้างสมดุลระหว่างการประหยัดพลังงานและการอยู่อาศัย สอดคล้องกับสภาพอากาศ จัดวางพื้นที่ใช้สอยตามทิศทางแดด ลมธรรมชาติ และเลือกใช้วัสดุก่อสร้างตกแต่งที่คำนึงถึงแสงสว่าง เสียง คุณภาพอากาศ มีการใช้พลังงานธรรมชาติและพลังงานทดแทน อาคารนี้จะเป็นแบบอย่างของอาคารประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นอาคารที่ยั่งยืน

5. ข้อคิดเห็น
นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย/สถาปนิกและนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 13 เม.ย. 64 ระบุว่า สภาผู้ทรงเกียรติแห่งใหม่ กับการออกแบบการใช้งานที่ไม่เป็นมิตรกับประชาชน ผมในฐานะสถาปนิกและหนึ่งในผู้ใช้งานอาคาร ขอใช้พื้นที่นี้วิพากษ์วิจารณ์ในเชิงการใช้งานจริง การออกแบบอาคารราชการสมัยใหม่ สิ่งแรกๆที่ต้องคำนึงถึงคือควรเป็นมิตรกับประชาชนและใช้งานง่าย มากกว่าการให้ความสำคัญกับความยิ่งใหญ่อลังการ ถ้าเราให้ความสำคัญผิดไปแล้ว จะเกิดปัญหาตามมาหลายอย่าง ดังนี้
1) อาคารทำงานเพื่อประชาชน แต่ประชาชนกลับเข้าถึงยาก หลักการ Accessibility ในเชิงการออกแบบ การเข้าถึงอาคารหลังนี้มีปัญหาครับ ด้วยการเดินทางจากภายนอกมายังพื้นที่โครงการเองที่ยากลำบาก ไม่ได้เลือกพื้นที่ที่สามารถเดินทางเข้ามาได้ด้วยรถไฟฟ้า ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางมา หากจะมาด้วยรถขนส่งสาธารณะ ก็ไม่ได้มีจุดจอดรถสาธารณะรับ-ส่งที่สะดวก ไม่มีการทำทางเดินในร่ม (covered-walkway) จากถนนสาธารณะมายังพื้นที่อาคารที่ใช้งานได้จริง
2) ที่จอดรถมาตรฐานต่ำ/ต่ำกว่ามาตรฐาน โครงการออกแบบมาให้มีที่จอดรถใต้ดิน 2 ชั้นเท่านั้น ไม่มีที่จอดเสริมนอกอาคาร ซึ่งไม่เพียงพอและสัมพันธ์กับขนาดของอาคาร (Parking Space ) ทั้งยังออกแบบระยะช่องจอดตามเกณฑ์ขั้นต่ำ ทำให้รถคันใหญ่หน่อยก็จอดไม่ได้ เมื่อจอดไม่พอก็มีการเสริมการจอดซ้อนคัน แต่ด้วยระยะถนนที่เป็นขั้นต่ำ เช่นกัน จึงมีปัญหากับวงเลี้ยวกับรถทุกประเภท เรียกว่าการขับรถขูดกันในสภาที่ทรงเกียรติจัดเป็นเรื่องปกติ แต่หากวันไหนเป็นวันที่มีการประชุมใหญ่หรือวาระพิเศษ การจะได้จอดรถจะเป็นอภิสิทธิ์สำหรับผู้มาล่วงหน้า 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น มิเช่นนั้นต้องจอดข้างนอกแล้วหาทางเรียกรถต่อเข้ามาเอง หรือต้องมีคนขับรถมาส่ง
3) อาคารใหญ่ ทางเลือก (เดิน) น้อย ระบบทางเดินทางตั้งของอาคาร (Vertical Linkage) มีปัญหา นอกเหนือจากระบบลิฟท์ที่มาตรฐานต่ำ ทำให้การสัญจรของห้องโดยสารช้าเกินไปแล้ว อาคารใหญ่ขนาดนี้ กลับไม่มีบันไดสาธารณะที่จะเป็นตัวช่วยผ่อนเบาการใช้ลิฟท์ได้ดี มีเพียงบันไดหนีไฟที่ไม่เป็นมิตรกับการใช้งานในภาวะปกติ ในอาคารสาธารณะทั่วไป โดยเฉพาะอาคารราชการที่มีการสัญจรเชื่อมต่อกันระหว่างชั้นตลอดเวลาแบบนี้ บันไดสาธารณะสำคัญมาก ต้องเด่น สะดวก และใช้งานง่าย จะช่วยลดการใช้พลังงานและลดระยะเวลาในการสัญจรได้มาก (สังเกตได้ในโรงพยาบาลของรัฐหลายแห่งมีบันไดสาธารณะใกล้ๆ กับลิฟต์โดยสาร เพื่อเป็นทางเลือกในการใช้งาน บางทีบอกจำนวนแคลอรีที่ถูกเผาผลาญในการเดินขึ้นลงบันไดแต่ละขั้นด้วย)
4) รัฐสภาหรือเขาวงกต ในการออกแบบภายใน ระบบทางเดิน (Circulation) เป็นเรื่องสำคัญมาก ระบบทางเดินที่นี่คือเขาวงกตโดยแท้ ไม่ต้องพูดถึงประชาชนที่เข้ามาติดต่อครั้งแรก แต่คนทำงานที่มาหลายครั้งยังคลำทางไม่ถูก เพราะเต็มไปด้วยทางตัน ทาง 3แยก ทางเลี้ยวหักศอกแบบมองไม่เห็นกัน การออกแบบอาคารสาธารณะที่ดี ต้องคำนึงถึงการเข้าใจระบบทางเดินที่ง่ายของคนโดยทั่วไปด้วย ประกอบกับการใช้ระบบโถง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานอ่านระบบทางเดินออกง่ายขึ้น ไม่หลง
5) ป้ายบอกทางต่างคนต่างทำ ระบบป้ายภายในอาคาร (Signage) มีปัญหาหนักมาก ไม่มีการนำทางที่ชัดเจนว่าจะไปไหนต้องเดินไปทางไหน ระบบป้ายหน้าห้องเองตอนนี้ก็ยังไม่เป็นระบบ ต่างคนต่างทำ มีทั้งป้ายกระดาษ ป้ายสติ๊กเกอร์เต็มไปหมด ไม่แน่ใจว่าทำยังไม่เสร็จ หรือยังไม่ได้คิดไปด้วยกันอย่างเป็นระบบ ในหลักการออกแบบภายใน อย่างน้อยทุกชั้นเมื่อเดินออกมา ควรมีการบอกทิศทางและปลายทาง ( directory ) ที่เด่นและเข้าใจง่าย และมีป้ายย่อยตามทุกทางแยก
6) พื้นแสนแพง แต่ไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้ วัสดุพื้นทางเดินสาธารณะ (Material) มีปัญหาขั้นเช่นกัน มีการเปลี่ยนวัสดุไปมา กระเบื้องทีไม้ที มีบางช่วงเป็นการปูไม้กระดานเว้นร่องแบบตีโครงหน้าห้องทำงาน ไม่ทนทานสำหรับการใช้งานระยะยาว และยังไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้งานด้วย อย่างคนใส่รองเท้าส้นไม้ หรือรองเท้าส้นสูงเดินผ่านแล้วเกิดเสียงดัง ผู้ใช้งานบางคนมีสะดุ้งตกใจ
ทั้งหมดเป็นความเห็นที่สอดแทรกองค์ความรู้ในการออกแบบภายใน ซึ่งในเรื่องของความสวยงามนั้น เป็นเรื่องของรสนิยมของแต่ละบุคคล แต่เรื่องการออกแบบสถานที่ราชการที่ประชาชนสามารถเข้ามาใช้งานได้ และยังก่อสร้างด้วยภาษีประชาชน ก็ควรต้องคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลักด้วย การก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งนี้ ควรจะเป็นบทเรียนให้ภาครัฐว่า ควรเลิกให้คุณค่ากับอาคารราชการที่ยิ่งใหญ่อลังการ แล้วมาให้ความสำคัญกับการออกแบบที่เป็นมิตร เข้าถึงง่าย สะดวกสบายกับการใช้งานของสาธารณะมากกว่า

6. บทสรุป
สำหรับโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2536 สมัยที่ นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี โดยเริ่มต้นจากการหาที่ตั้ง ไปจนถึงการก่อสร้าง นับจนถึงขณะนี้ได้ล่วงเลยมาแล้ว 26 ปี ขณะที่กระบวนการก่อสร้าง หากนับตั้งแต่วันเริ่มต้น 8 มิ.ย. 56 ไปจนถึงวันขยายสัญญาครั้งที่ 4 ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาในช่วงปลายปี 63 เท่ากับว่า ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 7 ปี จากปัญหาความล่าช้าที่เกิดขึ้น ยังไร้คำตอบที่ชัดเจนจากสภาฯ ว่า การขยายสัญญาในรอบนี้จะเป็นรอบสุดท้ายจริงหรือไม่? และงบประมาณมหาศาลที่ทุ่มลงไปกับความล่าช้าที่เกิดขึ้น จนกลายเป็นมหากาพย์รัฐสภาใหม่ ที่อาจซ้ำรอยเหตุการณ์ "ค่าโง่" หลายโครงการในอดีต ย่อมตามมาด้วยคำถามที่ว่า ท้ายที่สุดแล้วใครต้องรับผิดชอบ?
จากความพยายามในก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ดังกล่าว พบข้อที่น่าคิดว่า ขณะนี้การเมืองได้รุกคืบ หรือนำการทหารชัดเจนแล้ว จริงอยู่แม้ว่ารัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหารประเทศ และมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่ข้าราชการจะต้องสนองนโยบายของรัฐบาล แต่กรณีการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ เป็นที่น่าสังเกตว่า ทำไมรัฐบาลจึงได้จำเพาะเจาะจงที่จะใช้สถานที่บริเวณย่านเกียกกายเป็นสถานที่ก่อสร้าง ทั้งที่มีสถานที่ให้เลือกอีกเยอะแยก เหตุผลคือ บริเวณนั้นเป็นพื้นที่ของทหาร (ที่เก่าแก่) ทั้งนี้เนื่องจากทหารคุยง่าย ถ้าคุยกับผู้บังคับบัญชาชั้นสูงแล้วไม่ขัดข้อง ก็เป็นอันว่าจบ ซึ่งก็เท่ากับว่า เป็นเกมการเมืองที่ชาญฉลาดมาก ในอดีตที่ผ่านมา จะต้องไม่ลืมประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะคุณภาพของหน่วยทหารที่ได้ชื่อว่า ถ้าจะปฏิวัติรัฐประหาร หน่วยนี้จะต้องนำหน้าเสมอ ทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ และถ้าก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่เสร็จเมื่อไหร่ ฝ่ายการเมืองเขาก็จะหาเหตุผลที่จะรุกคืบต่อไป โดยอ้างความคับแคบ เพื่อจะขับไล่หน่วยทหารที่อยู่ในย่านนั้นให้พ้นหูพ้นตา เพราะอยู่ใกล้ก็จะปฏิวัติได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการก่อสร้าง และได้มีการเปิดใช้บางส่วนเป็นเวลากว่า 1 ปี ปรากฏผลคือ การจราจรบริเวณนั้นเริ่มติดขัด โดยนอกจากในวันที่มีการประชุมสภา (ส.ส.) หรือประชุมรัฐสภา (ส.ส., ส.ว.) แล้ว ก็จะมีกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง/ยื่นหนังสือ เข้ามาร่วมสร้างสีสัน ทำให้บรรยากาศในบริเวณที่ตั้งเด่นเป็นสง่า อลังการ สุดที่จะบรรยาย แต่ไหนๆ โครงการก็ใกล้จะสำเร็จลุล่วงแล้ว จึงขอฝากไปยังท่านผู้ทรงเกียรติทั้งหลายว่า ควรต้อง 'มีเกียรติ' จากการทำหน้าที่ของตัวเองในสภา มากกว่าการภาคภูมิใจกับความยิ่งใหญ่ของอาคารสถานที่ สถานที่ราชการควรเป็นที่รัก ที่พึ่ง ที่ภูมิใจของประชาชนอย่างแท้จริง


​​​​​​​​****************************
  • 0
  • 3 ปีที่ผ่านมา

รูปแบบ และแนวทางการลงผลงาน

รูปแบบการลงผลงาน

การลงผลงานให้อ่านใน ‘คลังความรู้.com’ จะแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบโดยผู้ลงผลงานสามารถเลือกได้เองอย่างอิสระ ดังนี้

รูปแบบที่ 1: เปิดให้บุคคลทั่วไปอ่านฟรี

ผู้ลงผลงานสามารถเปิดให้ผู้ที่ต้องการศึกษาเข้าอ่านได้ฟรี เพื่อเป็นการทดลองอ่านหรือโฆษณาผลงานชุดนั้นๆ โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้อง Login ก็สามารถเข้าอ่านได้ ขึ้นอยู่กับผู้ลงผลงานว่ามีความประสงค์ให้อ่านฟรีมากเท่าใด อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งชุด สิทธิ์ในการตัดสินใจเป็นของผู้ลงผลงานทั้งสิ้น อีกทั้งผู้ลงผลงานสามารถนำผลงานไปโปรโมท หรือเผยแพร่ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด

รูปแบบที่ 2: เปิดให้สมาชิกเท่านั้นที่อ่านฟรีได้

ผู้ลงผลงานสามารถติดไอคอน ‘เหรียญเงิน’ ในผลงานที่ผู้ลงผลงานต้องการสงวนไว้ให้เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่อ่านได้ ไอคอนเหรียญเงินที่ว่านี้จะทำให้ผู้อ่านเห็นคุณค่าของผลงานของท่าน และเหรียญเงินแต่ละดอกจะมีผลต่อการจัดอันดับ Top 10 ผลงานในแต่ละหมวดหมู่อีกด้วย

รูปแบบที่ 3: เปิดให้ผู้สนับสนุนเท่านั้นที่อ่านได้

ในกรณีที่ผู้ลงผลงานต้องการสร้างรายได้จากผลงานของท่าน ท่านสามารถเลือกที่จะติด ‘เหรียญทอง’ ในผลงานของท่านได้ โดยที่เหรียญเหล่านี้ ผู้ใช้บริการที่ต้องการจะสนับสนุนจะใช้เงินซื้อมาเพื่อแลกกับการอ่านผลงานของท่าน (ตามราคาที่ผู้ลงผลงานตั้งไว้ในแต่ละคอนเทนต์)

รูปแบบที่ 4: เปิดกว้างให้ทั้งสมาชิกและผู้สนับสนุนอ่านได้ทั้งคู่

ผู้ลงผลงานสามารถเลือกติดเหรียญเงินและเหรียญไปพร้อม ๆ กันได้ นั่นหมายความว่า ท่านยินดีที่จะให้สมาชิกอ่านฟรีและเปิดกว้างสำหรับผู้ที่พร้อมจะสนับสนุนไปด้วย ซึ่งวิธีนี้ก็จะดีมากสำหรับการโฆษณางานของตัวผู้ลงผลงานเองให้เป็นที่รู้จัก ผลงานของคุณจะไม่พลาดการจัดอันดับ Top 10 จากเหรียญเงินอีกทั้งยังสามารถได้รับการสนับสนุนจากผู้ใช้บริการในรูปแบบของเหรียญทองอีกด้วย

แนวทางการลงผลงาน

ข้อห้ามเกี่ยวกับผลงานที่นำมาลง

** ‘คลังความรู้.com’ ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับระดับการแสดงผลงาน หรือระงับการให้บริการผลงานแก่ผู้ลงผลงานที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยไม่มีการแจ้งหรือขออนุญาตล่วงหน้า
*** หากเกิดการฟ้องร้องใดๆ เกี่ยวกับผลงานของผู้ลงผลงาน ทาง ‘คลังความรู้.com’ จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกกรณี เนื่องจาก ‘คลังความรู้.com’ เป็นพื้นที่ที่ใช้ลงผลงานเท่านั้น