เมนูทั้งหมด
เมนูทั้งหมด

ข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้บริการ

  1. ผู้ลงผลงานอาจมีการนำเข้าหรือแชร์ลิงค์ออกไปยังเว็บไซต์อื่น หรือแพลตฟอร์มของบุคคลอื่น ในกรณีดังกล่าว หากเกิดปัญหาใดๆ หลังจากการแชร์ลิงค์ออกไปภายนอก จะไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของทาง ‘คลังความรู้.com’ ทุกกรณี
  2. เมื่อสมัครสมาชิกเพื่อลงผลงาน หรือใช้บริการ ทางเราอาจขอข้อมูลบางประการจากผู้สมัครโดยผู้สมัครสามารถสร้างข้อมูลสมาชิกต่าง ๆ ได้เอง เช่น ชื่อ นามสกุล เพศ วัน/เดือน/ปี เกิด หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ที่อยู่ หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาพถ่ายที่ผู้ใช้งานอาจทำการอัพโหลดเข้ามาในระบบ ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อมูลสมาชิกของที่ตนเองสร้างขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ รูปภาพหรือสถานที่ต่าง ๆ ท่านต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงความเสี่ยงในการแสดงข้อมูลนั้น ๆ
  3. หากผู้สมัครตัดสินใจเข้าใช้บริการ ‘คลังความรู้.com’ โดยผ่านบริการยืนยันตัวตนของผู้ให้บริการอื่น เช่น ผู้ให้บริการเฟสบุ๊คหรืออีเมล เป็นต้น ทางเราอาจได้รับข้อมูลประวัติหรือข้อมูลอื่นเพิ่มเติมตามที่ผู้ให้บริการรายดังกล่าวแสดงผลและกำหนดไว้
  4. ข้อมูลจากเว็บไซต์และอุปกรณ์เคลื่อนที่อาจมีการบันทึกข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ของเรา เช่น ข้อมูลที่ได้รับจากอุปกรณ์หรือเว็บบราวเซอร์ของผู้สมัคร รวมถึงไอพีแอดเดรส โดยการดำเนินการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นที่เว็บไซต์ ‘คลังความรู้.com’ หรือบนแพลตฟอร์มบุคคลภายนอกด้วย
  5. ‘คลังความรู้.com’ อาจใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมและควบคุมไว้เพื่อวิเคราะห์ปรับปรุงบริการด้านต่าง ๆ เพื่อให้บริการได้ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งาน ดังนั้นจึงอาจมีการติดต่อสมาชิกสำหรับการสื่อสารด้านการตลาดที่ได้รับอนุญาตผ่านช่องทางติดต่อสื่อสารใดๆ ที่ใช้การได้
  6. ข้อมูลที่ ‘คลังความรู้.com’ เก็บรวบรวมจะได้รับการปกป้องโดยขั้นตอนรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมตามสมควร เพื่อป้องกันการเข้าถึงหรือใช้ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น ผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามนโยบายที่ชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้อย่างเคร่งครัด โดยจะไม่กระทำการใดอันเป็นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้งานอื่นหรือบุคคลภายนอก ทั้งนี้หาก ‘คลังความรู้.com’ พบการล่วงละเมิดดังกล่าว เราขอสงวนสิทธิในการยกเลิกและปิดกั้นการเข้าใช้ของผู้ใช้งานผู้กระทำการล่วงละเมิดนั้น

    กรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคลและช่องทางติดต่อสื่อสารของผู้ใช้งานเสียหายหรือสูญหาย ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งรวมถึง การจารกรรมด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Hack) หรือวิธีการอื่น ‘คลังความรู้.com’ ขอสงวนสิทธิโดยไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายหรือสูญหายดังกล่าว หรือต่อความเสียหายสืบเนื่องใดๆ ทั้งสิ้น

  7. หลังจากซื้อผลงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ผลงานชิ้นนั้น ๆ จะถูกเก็บไว้ใน ‘คลัง’ ของผู้ใช้บริการเพื่อให้พร้อมเข้าอ่านได้ตลอดเวลา ผู้ใช้บริการจะสามารถเข้าอ่านได้ตลอดแม้ว่าผลงานชิ้นนั้นจะถูกลบออกจากหน้าเสนอขายไปแล้วก็ตาม
  8. ผู้ลงผลงานมีสิทธิในการอัพเดตและปรับเปลี่ยนเนื้อหาของผลงานที่ถูกซื้อไปแล้วได้ แต่ต้องผ่านการตรวจสอบจากระบบของเราก่อน
  9. ผู้ใช้บริการไม่มีสิทธินำผลงานที่ซื้อไว้ไปทำซ้ำ หรือเผยแพร่ต่อในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด
  10. ผู้ใช้บริการไม่สามารถขอคืนเงินได้ทุกกรณี หลังจากทำการซื้อไปแล้ว
cover
ปัญหาการคอรัปชั่นกับสังคมไทย
  • 0.0 (0)
  • |
  • ขายได้: 0
เมื่อกล่าวถึงสังคมไทยแล้วนั้น ในสายตาของหลายๆ คนอาจจะมองได้หลายมุมมอง ไม่ว่าจะเป็นในแง่สังคมที่มีวัฒนธรรมอันดีงาม สังคมของการเอื้ออาทร สังคมของการอุปถัมภ์กัน เป็นต้น แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งแล้วสังคมไทยก็มีอีกหลายปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาโสเภณี เป็นต้น แต่มีปัญหาหนึ่งที่คนไทยอาจจะลืมนึกถึง หรือไม่ให้ความสำคัญต่อปัญหานี้มากเท่าที่ควร นั้นก็คือ ปัญหาการคอรัปชั่น
ปัญหาการคอรัปชั่น (Corruption) หลายคนอาจจะมองว่าไม่สำคัญ เพราะอาจคิดว่าไม่ใช่ปัญหาของตัวเองบ้าง ไม่ใช่เรื่องใกล้ตัวบ้าง แต่หากย้อนกลับมาพิจารณาดูให้ดีแล้ว ปัญหาการคอรัปชั่นนี้นับว่า เป็นสิ่งที่เกี่ยวพันกับชีวิตของเราๆ ประชาชนอย่างมากทีเดียว คำว่า ”คอรัปชั่น” นั้น นิยามอาจตีความได้อย่างกว้างขวางมาก เช่น การทุจริต การฉ้อโกง การฉ้อราษฎรบังหลวง เป็นต้น โดยแต่ละความหมายล้วนให้ความหมายในเชิงแง่ลบทั้งสิ้น ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดการคอรัปชั่นนี้ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ หลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ความยากจนของข้าราชการชั้นผู้น้อย การขัดกันของผลประโยชน์ (Conflicts of interest) การทุจริตโดยนโยบาย ( corruption by public policy) เป็นต้น
เคยมีผู้ร่วมรวมสาเหตุของการคอรัปชั่นไว้มากมาย ดังจากหนังสือ G.E.Caiden, “what really is Public Maladministration” Public Administration Really Review ซึ่งได้แปลโดย ท่าน อ. ติน ปรัชญพฤทธิ์ แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้วางหลักการว่า คอรัปชั่น คือ พยาธิของระบบราชการ (common bureau pathologies) กล่าวคือ เป็นสิ่งที่แทรกแซง กัดกินระบบราชการ โดยมีอาจมีสาเหตุมาจาก
1. Abuse of authority/power/position : การใช้อำนาจหน้าที่อำนาจ และตำแหน่งในทางที่มิชอบ
2. Account padding : การเติมแต่งบัญชีเพื่อเบิกจ่ายเงินที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง
3. Alienation : ความแปลกแยก การตีตนออกห่างจากสังคมและเพื่อนร่วมงาน
4. Anorexia : อาการเบื่ออาหาร เบื่องานและเบื่อโลก
5. Arbitrariness : การชอบทำอะไรตามอำเภอใจ หรือถืออำนาจบาตรใหญ่
6. Arrogance : ความกร่าง หยิ่ง อวดดี
7. Bias : อคติ ลำเอียง
8. Blurring issues : กลบเกลื่อนปัญหา เบี่ยงเบนประเด็น
9. Boondoggle : การชอบทำอะไรที่ปราศจากคุณค่าทางปฏิบัติ
10. Bribery : การติดสินบน
11. Bereaucratese (unintelligibility) : การหมกเม็ด การทำอะไรที่เข้าใจยาก
12. Busywork : การทำงานเสมือนยุ่งอยู่ตลอดเวลา
13. Carelessness : ความสะเพร่า ไม่ระมัดระวัง
14. Chiseling : การกินแรงเพื่อนร่วมงานและผู้อื่น
15. Complacency : เช้าชามเย็นชาม เฉื่อยชา พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ หรือ status quo
16. Compulsiveness : การขาดการหักห้ามใจ การทนต่อสิ่งเย้ายวนไม่ได้
17. Conflicts of interest/objective : ความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ ผลประโยชน์ขัดกัน แยกไม่ออกว่าอะไรคือของตน อะไรคือของราชการ
18. Confusion : ความสับสนอลหม่าน ความยุ่งเหยิง
19. Conspiracy : ความสมคบกันกระทำความผิด
20. Corruption : การฉ้อราษฎร์บังหลวง
21. Counter-productiveness : การทำงานที่ขัดขวางผลผลิต การสกัดกั้นผลิตภาพ/ผลงาน
22. Cowardice : ความขลาด ความขี้ขลาดตาขาว ปราศจากความกล้า
23. Criminality : ความผิด ชอบกระทำความผิด
24. Deadwood : ไฟมอด หมดกำลังใจ หมดไฟ ไม้ใกล้ฝั่ง
25. Deceit and deception : ความหลอกลวง ชอบหลอกลวง
26. Dedication to status quo : การชอบย้ำอยู่กับที่ ไม่ขวนขวาย ไม่ชอบก้าวหน้า
27. Defective goods : สินค้าที่ด้อยคุณภาพ ปฏิบัติงานไม่ได้ตามมาตรฐาน
28. Delay : ความล่าช้าไม่ทันการณ์
29. Deterioration : ความเสื่อมถอย ความผุกร่อน
30. Discourtesy : ความไม่สุภาพ ไร้มารยาท
31. Discrimination : การกีดกัน การดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น การเลือกปฏิบัติ
32. Diseconomies of size : การทำอะไรเกินตัว ขาดความพอดี เห็นช้างขี้ขี้ตามช้าง
33. Displacement of goals/objective : การยึดเอาวัตถุประสงค์รอง มาเป็นวัตถุประสงค์หลัก เอาไม้ซีกมาแทนไม้ซุง
34. Dogmatism : การยึดมั่นอยู่กับความคิดของตนเอง การนึกว่าตนเองถูกเสมอ
35. Dramaturgy : การชอบแสดงละครตบตา
36. Empire-building : การสร้างอาณาจักร การสร้างอิทธิพล
37. Excessive social costs/complexity : การชอบทำอะไรฟุ้งเฟ้อ ยุ่งยาก สลับซับซ้อนโดยไม่จำเป็น
38. Exploitation : การชอบแสวงหาประโยชน์จากผู้อื่น
39. Extortion : การชอบรีดนาทาเร้น/บีบบังคับผู้อื่นการขู่เข็ญ กรรโชก
40. Extravagance : ความฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย
41. Failure to acknowledge /act/answer/Respond : การไม่สนองตอบความต้องการของผู้อื่น
42. Favoritism : การให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ใกล้ชิด
43. Fear of change, innovation, risk : ความเกรงกลัวต่อความเปลี่ยนแปลง และความเสี่ยง
44. Finagling : การใช้เล่ห์กระเท่ต้มตุ๋น
45. Foot dragging : การปัดแข้งปัดขา
46. Framing : การใส่ความผู้อื่น การให้ร้ายป้ายสี
47. Fraud : การฉ้อโกง ฉ้อฉล
48. Fudging/fussing(issues) : การชอบพูดเรื่องเหลวไหลไร้สาระ
49. Gamesmanship : การใช้ลูกล่อลูกชนเพื่อเอาชนะระราน (คำๆ นี้ ถ้าใช้ในความหมายบวก หมายถึง ความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา สู้กันซึ่งๆ หน้า
50. Gattopardismo (dilettante/dilettanti /minion) : การชอบทำอะไรผิวเผิน รู้ไม่จริงเข้าทำนอง "ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง"ฯ ทำเป็นแน่ที่แท้มีแต่ความว่างเปล่า
51. Ghost employee : การเบิกเงินให้แก่ผู้ที่ไม่มีตัวตน (บัญชีผี)
52. Gobbiedygook/jargon : การใช้ศัพท์แสลงที่ยากต่อการเข้าใจ และไม่ให้ผู้อื่นเข้าใจ
53. Highhandedness : ความโอหัง การเหยียบย่ำผู้อื่น
54. Ignorance : ความเขลา ทึ่ม
55. Illegality : ความผิดกฎหมาย
56. Impervious to criticism/Suggestion : การขาดความอดกลั้นต่อคำวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่น ทนการวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้
57. Improper motivation : การมีแรงจูงใจที่ไม่เหมาะสม
58. Inability to learn : การขาดความสามารถที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
59. Inaccessibility : การเข้าพบหรือหาตัวยาก
60. Inaction : การไม่ยอมทำอะไรเลย
61. Inadequate reward and incentive : การให้ความดีความชอบที่ไม่เพียงพอ
62. Inadequate working conditions : สภาพการทำงานที่ย่ำแย่
63. Inappropriateness : การวางตัวไม่เหมาะสม
64. Incompatible tasks : การทำงานที่ไม่ตรงกับความรู้ ความสามารถ
65. Inconvenience : ความไม่สะดวก
66. Indecision(decidophobia) : การไม่ยอมตัดสินใจ
67. Indifference : การไม่รู้ร้อนรู้หนาว
68. Indisciplining : การขาดระเบียบวินัย
69. Ineffectiveness : การขาดประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน
70. Ineptitude : การวางตัวไม่เหมาะสม
71. Inertia : การเฉื่อยชา ย่ำอยู่กับที่
72. Inferior qulity : ความด้อยประสิทธิภาพ
73. Inflexibility : ความเข้มงวด ไม่ยืดหยุ่น
74. Inhumanity : ความปราศจากมนุษยธรรม การขาดความเมตตากรุณา
75. Injustice : ความไม่ยุติธรรม
76. Insensitivity : การขาดความรู้สึกที่ฉับไว
77. Insolence : ความหยาบคาย
78. Intimidation : การทำให้ผู้อื่นยอมสยบต่อความต้องการ ของตนการข่มเหงคนอื่น
79. Irregularity : การขาดความคงเส้นคงวา ความไม่สม่ำเสมอ
80. Irrelevance : การออกนอกลู่นอกทาง ความไม่ตรงประเด็น
81. Irresolution : การไม่ยอมหาวิธียุติปัญหา
82. Irresponsibility : การขาดความรับผิดชอบ
83. Kleptocracy : การที่ข้าราชการปฏิบัติตนเสมือนกลุ่มโจร การปกครอง การบริหารโดยกลุ่มโจร
84. Lack of commitment : การขาดความผูกพันในงาน
85. Lack of coordination : การขาดการประสานงาน
86. Lack of creativity/experimentation : การขาดความคิดสร้างสรรค์ หรือการไม่ยอมทำสิ่งใหม่ๆ
87. Lack of credibility : การขาดศรัทธาจากผู้อื่น วิกฤติศรัทธา
88. Lack of imagination : การขาดจินตนาการ
89. Lack of initiative : การขาดความคิดริเริ่ม
90. Lack of performance indicator : การขาดมาตรวัดผลงาน
91. Lack of vision : การขาดวิสัยทัศน์/สายตาอันยาวไกล
92. Lawlessness : การทำตนเป็นอันธพาลเสมือนหนึ่งประเทศชาติขาดขื่อแป
93. Laxity : ความหย่อนยานทางศีลธรรม
94. Leadership vacuums : การขาดภาวะผู้นำ สุญญากาศผู้นำ
95. Malfeasance : การปฏิบัติงานที่ไม่ดี หรือต่ำกว่ามาตรฐาน
96. Malice : การอาฆาตมาดร้ายผู้อื่น การประทุษร้ายผู้อื่น
97. Malignity : เจตนาร้าย การใส่ร้ายผู้อื่น
98. Meaningless/make work : การปฏิบัติงานที่ไร้ความหมายไร้สาระ/ งานที่ต้องซ่อมแซม
99. Mediocrity : ความคร่ำครึ ไม่ทันสมัย เต่าล้านปี
100. Mellownization : ความเฉา ความสุกงอมจนหาประโยชน์มิได้ ความเสื่อมถอย
101. Mindless job performance : ความไม่ห่วงใยต่องาน
102. Miscommunication : การติดต่อสื่อสารที่ผิดพลาด
103. Misconduct : การประพฤติชั่ว
104. Misfeasance : การทำผิดกฎหมาย
105. Misinformation : การได้รับข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาด
106. Misplaced zeal : ความขยัน / กระตือรือร้นที่ผิดที่ เข้าทำนอง "โง่แต่ขยัน"
107. Negativism : การมีทัศนคติในทางลบอยู่ตลอดเวลา การมองโลกในแง่ร้าย
108. Negligence / neglect : การละเลยหน้าที่ความรับผิดชอบ
109. Nepotism : การให้สิทธิพิเศษแก่เครือญาติ
110. Neuroticism :โรคประสาทอ่อนๆ
111. Nonaccountability : การขาดจิตสำนึกที่จะให้ผู้อื่นตรวจสอบ การไม่ยอมให้ผู้อื่นตรวจสอบการไม่พร้อมที่จะรับผิด การขาดมาตรการไล่เบี้ย
112. Noncommunication : การไม่ยอมติดต่อสื่อสารกับผู้คน
113. Nonfeasance : การไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมาย
114. Nonproducitivity :การขาดผลิตภาพ การไม่มีผลงาน
115. Obscurity : การชอบทำตนลึกลับ ไม่โปรงใส
116. Obstruction : การชอบขัดขวางผู้อื่นเข้าทำนอง "มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ"
117. Officiousness : การชอบเข้าไปแทรกแซงเรื่องของผู้อื่น
118. Oppression : การกดขี่ผู้อื่น
119. Overkill : การชอบทำอะไรรุนแรงเกินกว่าเหตุ
120. Oversight : การชอบตรวจตราสอดแนมผู้อื่น
121. Overspread : การชอบยุ่งในทุกเรื่อง
122. Overstaffing : การมีคนล้นงาน
123. Paperasserie : การมีงานหนังสือมากเกินไป การชอบใช้หนังสือราชการมากเกินไป
124. Paranoia : ความผิดปกติทางจิต อารมณ์หลอนและหวาดระแวง
125. Patronage : ระบบอุปถัมภ์
126. Payoffs and kickbacks : การชอบติดสินบน
127. Perversity : ความดื้อดึงในทางที่ผิด ๆ หัวชนฝา
128. Phony contracts :การชอบปลอมแปลงเอกสาร หรือสัญญา ความไม่จริงใจ
129. Pointless activity : การชอบทำกิจกรรมที่ปราศจากจุดหมาย
130. Procrastination : การผัดวันประกันพรุ่ง
131. Punitive supervision : การกำกับดูแลงานที่มุ่งแต่ละลงโทษแต่เพียงสถานเดียว
132. Red-tape : ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน
133. Reluctance to delegate : ความลังเลใจ/ไม่กล้าที่จะมอบหมายงาน
134. Reluctance to take decisions : ความลังเลใจ/ไม่กล้าที่จะตัดสินใจ
135. Reluctance to take responsibility : ความลังเลใจ/ไม่กล้าที่จะรับผิดชอบ
136. Remoteness : การชอบทำตนเหินห่างจากผู้คนและประชาชน
137. Rigidity / brittleness : ความเคร่งครัด/ความหละหลวม หรือ เปราะบางจนเกินงาม
138. Rip-offs :การชอบทำเอาเปรียบผู้อื่น หมกเม็ด คดในข้อ งอในกระดูก
139. Ritualism :การชอบพิธีกรรม/พิธีรีตองมากเกินไป
140. Rudeness : ความหยาบคาย
141. Sabotage :การบ่อนทำลาย
142. Scams :โกง การชอบใช้ลูกล่อลูกชน
143. Secrecy : ความลับ การชอบกำความลับ การทำอะไรที่ดูเหมือนเป็นความลับไปเสียหมด
144. Self-perpetuation : การไม่ยอมปล่อยวาง การอยู่ยงคงกระพัน รากงอก
145. Self-serving : การมุ่งประโยชน์ส่วนตน การทำอะไรเพื่อตนเอง
146. Slick bookkeeping : ผักชีโรยหน้า การขาดความลึกซึ้งและความจริงใจ
147. Sloppiness :ความหยิบโหย่ง/อ่อนแอ
148. Social astigmatism (failure to see problems) : การมองปัญหาไม่ออก การมองไม่เห็นปัญหาการตีโจทก์ไม่แตก
149. Soul-destroying work : การชอบทำให้ผู้อื่นแสลงใจ การทำงานที่ ไม่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
150. Spendthrift : การใช้เงินเปลือง สุรุ่ยสุร่าย
151. Spoils : ระบบเล่นพรรคเล่นพรรค
152. Stagnation : ความชะงักงัน
153. Stalling : การย้ำอยู่กับที่ การไปไม่ถึงไหน
154. Stonewalling : การชอบขัดขวางผู้อื่น การแย่งงานเงิน เกียรติจากผู้อื่น
155. Suboptimization(goal displacement) : การให้ความสำคัญแก่ประเด็นปลีกย่อย มากกว่าเป้าหมายรวม
156. Sycophancy : การสอพลอ
157. Tail-chasing : การชอบทำอะไรวกไปเวียนมาโดยไม่รู้จักจบสิ้น
158. Tampering : การทำอะไรที่ส่อไปในทางทุจริต
159. Teritorial imperative : การหวงแหนเขตอิทธิพลของตนเอง
160. Theft : การลักขโมย
161. Tokenism : การทำอะไรแต่พอเป็นพิธี ขาดความจริงจัง
162. Tunnel vision : การมีสายตาที่คับแคบ ความใจแคบ
163. Unclear objectives : เป้าหมายที่ไม่ชัดเจน
164. Unfairness : ความไม่ยุติธรรม
165. Unnecessary work : การทำงานที่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำ
166. Unprofessional conduct : ความประพฤติที่ขาดวิชาชีพนิยม
167. Unreasonableness : การขาดความสมเหตุสมผล ความไม่พอดี
168. Unsafe conditions : สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย
169. Unsuitable premises and equipment :โรงเรือนและเครื่องมือเครื่องใช้ที่ไม่เหมาะสม
170. Usurpatory : การชอบแย่งชิงอำนาจกัน
171. Vanity : ความล้มเหลว ความปราศจากมรรคผลความสิ้นหวัง
172. Vested interest : การมีผลประโยชน์ส่วนตัวเข้าไปเกี่ยวข้อง
173. Vindictiveness : การชอบแก้แค้น ตาต่อตา ฟันต่อฟัน
174. Waste : ความสูญเปล่า
175. Whim : ตัณหาราคะ
176 Xenophobia : ความกลัวต่อสิ่งแปลกใหม่
จากสาเหตุของการคอรัปชั่นที่มากมายเช่นนี้ แม้ว่าจะมีสาเหตุที่มากมาย ทำให้คนหลายคนอาจเกิดท้อแท้สิ้นหวังกับสังคมที่ฟอนเฟะเลวทราม
ในประเทศไทย ปัญหาคอรัปชั่นมีมากมายแทรกเป็นยาดำไปเกือบทุกๆ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นวงการการเมืองก็ดี ที่เกิดจากพฤติกรรมหน้าเนื้อในเสือ ของนักการเมืองบางคนที่อยู่ในคราบของผู้ใจดีมีเมตตา ว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาให้กับประชาชน แต่แท้ที่จริงแล้วกลับ ทำนาบนหลังคนหรือขูดรีดขูดเนื้อกับประชาชน โดยการทุจริตในรูปแบบต่างๆ เช่น จัดสรรงบประมาณเข้ากระเป๋าตัวเอง หรือเรียกรับเงินใต้โต๊ะ เป็นต้น ส่วนวงการข้าราชการประจำนั้น ดั่งเช่นกรณี คุณชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ กับนายตำรวจบางคน ในการเรียกรับส่วยจากสถานบริการอาบ อบ นวด กรณี ค่าโง่ทางด่วนซึ่งต้องสิ้นเปลืองงบประมาณประเทศโดยไม่จำเป็น กรณีการจัดสรรที่ดิน สปก.ให้แก่ผู้มีอิทธิพล ซึ่งเป็นปัญหามาหลายรัฐบาล เป็นต้น
มีหลายมุมมองจากต่างชาติ เช่น ในสหรัฐฯ ที่ได้มีการเสนอรายงานการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี พ.ศ.2545 ต่อสภาคองเกรส ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมเกือบ 200 ประเทศ รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศไทย โดย นายแดร์ริล เอ็น จอห์นสัน เอกอัครราชทูต สหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ว่าประเทศไทยมีปัญหาการคอรัปชั่นมากมาย เช่น ปัญหากระบวนการยุติธรรม การซื้อเสียง การติดสินบน ปัญหายาเสพติด การขาดความโปรงใสในการทำงานของฝ่ายราชการ ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
แนวทางการแก้ปัญหาการคอรัปชั่น
การที่จะแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นได้ต้องใช้หลาย วิธีการเข้าช่วย หรือ ร่วมกันแก้ไขโดยมวลรวม โดยมีทฤษฎีหลายๆอย่างแตกต่างกันออกไป เช่น หลักนิติรัฐ กล่าวคือ รัฐที่อยู่หรือปกครอง ภายใต้กฎหมาย หรือ ใช้กฎหมายควบคุม หลักการตรวจสอบอำนาจรัฐ กล่าวคือ เป็นการตรวจสอบอำนาจรัฐโดยองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น โดยปัจจุบัน ในสังคมไทยได้มีกลุ่มคนบางส่วน หรือหลายๆ องค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน ในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ เช่น สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (ตผ.) เป็นต้น ส่วนในการตรวจสอบการทำงานของรัฐโดยภาคเอกชนนั้น เช่น องค์กรเอกชนอิสระ (NGO) กลุ่มนักศึกษา กลุ่มมวลชนต่างๆ เป็นต้น
ดังนั้น ไม่ว่าภาครัฐและเอกชน จึงควรสร้างสรรค์สังคม และร่วมขจัดปัญหาการคอรัปชั่นไปจากสังคมไทย โดยไม่ว่าจะเป็น จากการปลูกฝังเยาวชน ให้มีแนวความคิดที่รังเกียจ และต่อต้านการคอรัปชั่น โดยสร้างค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริตให้แก่สังคม เหล่านี้เองที่จะเป็นเส้นทางที่จะนำไปสู่การลดลงของปัญหาดังกล่าว และอาจทำให้ปัญหาดังกล่าวหมดไปจากสังคม ถึงเวลาแล้วที่ทุกๆ คนในสังคมไม่ควรนิ่งดูดาย ปล่อยให้การทุจริตคอรัปชั่นมากัดกิน และบ่อนทำลายสังคมไทยของเรา เพื่อที่เราชาวไทยจะได้พูดได้เต็มปากสักทีว่า “คนไทย โปร่งใส ไร้คอรัปชั่น”
การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
ปัญหาการคอรัปชั่นเป็นปัญหาที่ระบบ เพราะฉะนั้นจึงต้องแก้กันที่ระบบ วิธีการแก้ไขปัญหา ด้วยจัดตั้งสำนักงานการพัสดุแห่งชาติ สังกัดกระทรวงการคลังขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ดังนี้
1) รวบรวมรายละเอียดงบลงทุนและงบทำการของส่วนราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม มาไว้ที่ส่วนนี้ เพราะปีหนึ่งๆ หน่วยราชการได้ตั้งงบประมาณเบิกปีละหลายแสนล้าน
2) นำงบประมาณทั้งหมดมาดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้าง ตั้งแต่สากกระเบือ ยันเรือรบ
3) เชิญชวนผู้ผลิต ผู้แทนจำหน่าย โรงงานผู้ผลิต มาติดต่อเพื่อดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้างที่นี่ที่เดียว เพราะหน่วยราชการจะได้สินค้า บริการที่มีราคาถูก โดยไม่ต้องผ่านคนกลางที่เป็นบริษัท ตัวแทนห้างร้านต่าง ๆ สะอาด บริสุทธิ์ และได้ของมีคุณภาพ
4) รายการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยผ่านคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ก่อนจัดซื้อจัดจ้าง จะแน่ใจว่าเป็นการจัดซื้อจัดจ้างที่สะอาดจริง ๆ โดยกระทรวง ทบวง กรม ไม่ต้องส่งเรื่องให้สำนักงานตรวจเงินฯ ตรวจสอบอีก
5) เมื่อได้จัดซื้อจัดจ้าง ก็แจ้งให้หน่วยงานมารับไป หรือให้บริษัทตัวแทนไปส่งโดยไม่ต้องทำการตรวจรับอีกต่อไป เพียงแต่รับมอบไปตามจำนวนในใบนำส่ง


*********************
  • 0
  • 3 ปีที่ผ่านมา

รูปแบบ และแนวทางการลงผลงาน

รูปแบบการลงผลงาน

การลงผลงานให้อ่านใน ‘คลังความรู้.com’ จะแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบโดยผู้ลงผลงานสามารถเลือกได้เองอย่างอิสระ ดังนี้

รูปแบบที่ 1: เปิดให้บุคคลทั่วไปอ่านฟรี

ผู้ลงผลงานสามารถเปิดให้ผู้ที่ต้องการศึกษาเข้าอ่านได้ฟรี เพื่อเป็นการทดลองอ่านหรือโฆษณาผลงานชุดนั้นๆ โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้อง Login ก็สามารถเข้าอ่านได้ ขึ้นอยู่กับผู้ลงผลงานว่ามีความประสงค์ให้อ่านฟรีมากเท่าใด อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งชุด สิทธิ์ในการตัดสินใจเป็นของผู้ลงผลงานทั้งสิ้น อีกทั้งผู้ลงผลงานสามารถนำผลงานไปโปรโมท หรือเผยแพร่ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด

รูปแบบที่ 2: เปิดให้สมาชิกเท่านั้นที่อ่านฟรีได้

ผู้ลงผลงานสามารถติดไอคอน ‘เหรียญเงิน’ ในผลงานที่ผู้ลงผลงานต้องการสงวนไว้ให้เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่อ่านได้ ไอคอนเหรียญเงินที่ว่านี้จะทำให้ผู้อ่านเห็นคุณค่าของผลงานของท่าน และเหรียญเงินแต่ละดอกจะมีผลต่อการจัดอันดับ Top 10 ผลงานในแต่ละหมวดหมู่อีกด้วย

รูปแบบที่ 3: เปิดให้ผู้สนับสนุนเท่านั้นที่อ่านได้

ในกรณีที่ผู้ลงผลงานต้องการสร้างรายได้จากผลงานของท่าน ท่านสามารถเลือกที่จะติด ‘เหรียญทอง’ ในผลงานของท่านได้ โดยที่เหรียญเหล่านี้ ผู้ใช้บริการที่ต้องการจะสนับสนุนจะใช้เงินซื้อมาเพื่อแลกกับการอ่านผลงานของท่าน (ตามราคาที่ผู้ลงผลงานตั้งไว้ในแต่ละคอนเทนต์)

รูปแบบที่ 4: เปิดกว้างให้ทั้งสมาชิกและผู้สนับสนุนอ่านได้ทั้งคู่

ผู้ลงผลงานสามารถเลือกติดเหรียญเงินและเหรียญไปพร้อม ๆ กันได้ นั่นหมายความว่า ท่านยินดีที่จะให้สมาชิกอ่านฟรีและเปิดกว้างสำหรับผู้ที่พร้อมจะสนับสนุนไปด้วย ซึ่งวิธีนี้ก็จะดีมากสำหรับการโฆษณางานของตัวผู้ลงผลงานเองให้เป็นที่รู้จัก ผลงานของคุณจะไม่พลาดการจัดอันดับ Top 10 จากเหรียญเงินอีกทั้งยังสามารถได้รับการสนับสนุนจากผู้ใช้บริการในรูปแบบของเหรียญทองอีกด้วย

แนวทางการลงผลงาน

ข้อห้ามเกี่ยวกับผลงานที่นำมาลง

** ‘คลังความรู้.com’ ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับระดับการแสดงผลงาน หรือระงับการให้บริการผลงานแก่ผู้ลงผลงานที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยไม่มีการแจ้งหรือขออนุญาตล่วงหน้า
*** หากเกิดการฟ้องร้องใดๆ เกี่ยวกับผลงานของผู้ลงผลงาน ทาง ‘คลังความรู้.com’ จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกกรณี เนื่องจาก ‘คลังความรู้.com’ เป็นพื้นที่ที่ใช้ลงผลงานเท่านั้น