เมนูทั้งหมด
เมนูทั้งหมด

ข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้บริการ

  1. ผู้ลงผลงานอาจมีการนำเข้าหรือแชร์ลิงค์ออกไปยังเว็บไซต์อื่น หรือแพลตฟอร์มของบุคคลอื่น ในกรณีดังกล่าว หากเกิดปัญหาใดๆ หลังจากการแชร์ลิงค์ออกไปภายนอก จะไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของทาง ‘คลังความรู้.com’ ทุกกรณี
  2. เมื่อสมัครสมาชิกเพื่อลงผลงาน หรือใช้บริการ ทางเราอาจขอข้อมูลบางประการจากผู้สมัครโดยผู้สมัครสามารถสร้างข้อมูลสมาชิกต่าง ๆ ได้เอง เช่น ชื่อ นามสกุล เพศ วัน/เดือน/ปี เกิด หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ที่อยู่ หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาพถ่ายที่ผู้ใช้งานอาจทำการอัพโหลดเข้ามาในระบบ ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อมูลสมาชิกของที่ตนเองสร้างขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ รูปภาพหรือสถานที่ต่าง ๆ ท่านต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงความเสี่ยงในการแสดงข้อมูลนั้น ๆ
  3. หากผู้สมัครตัดสินใจเข้าใช้บริการ ‘คลังความรู้.com’ โดยผ่านบริการยืนยันตัวตนของผู้ให้บริการอื่น เช่น ผู้ให้บริการเฟสบุ๊คหรืออีเมล เป็นต้น ทางเราอาจได้รับข้อมูลประวัติหรือข้อมูลอื่นเพิ่มเติมตามที่ผู้ให้บริการรายดังกล่าวแสดงผลและกำหนดไว้
  4. ข้อมูลจากเว็บไซต์และอุปกรณ์เคลื่อนที่อาจมีการบันทึกข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ของเรา เช่น ข้อมูลที่ได้รับจากอุปกรณ์หรือเว็บบราวเซอร์ของผู้สมัคร รวมถึงไอพีแอดเดรส โดยการดำเนินการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นที่เว็บไซต์ ‘คลังความรู้.com’ หรือบนแพลตฟอร์มบุคคลภายนอกด้วย
  5. ‘คลังความรู้.com’ อาจใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมและควบคุมไว้เพื่อวิเคราะห์ปรับปรุงบริการด้านต่าง ๆ เพื่อให้บริการได้ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งาน ดังนั้นจึงอาจมีการติดต่อสมาชิกสำหรับการสื่อสารด้านการตลาดที่ได้รับอนุญาตผ่านช่องทางติดต่อสื่อสารใดๆ ที่ใช้การได้
  6. ข้อมูลที่ ‘คลังความรู้.com’ เก็บรวบรวมจะได้รับการปกป้องโดยขั้นตอนรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมตามสมควร เพื่อป้องกันการเข้าถึงหรือใช้ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น ผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามนโยบายที่ชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้อย่างเคร่งครัด โดยจะไม่กระทำการใดอันเป็นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้งานอื่นหรือบุคคลภายนอก ทั้งนี้หาก ‘คลังความรู้.com’ พบการล่วงละเมิดดังกล่าว เราขอสงวนสิทธิในการยกเลิกและปิดกั้นการเข้าใช้ของผู้ใช้งานผู้กระทำการล่วงละเมิดนั้น

    กรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคลและช่องทางติดต่อสื่อสารของผู้ใช้งานเสียหายหรือสูญหาย ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งรวมถึง การจารกรรมด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Hack) หรือวิธีการอื่น ‘คลังความรู้.com’ ขอสงวนสิทธิโดยไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายหรือสูญหายดังกล่าว หรือต่อความเสียหายสืบเนื่องใดๆ ทั้งสิ้น

  7. หลังจากซื้อผลงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ผลงานชิ้นนั้น ๆ จะถูกเก็บไว้ใน ‘คลัง’ ของผู้ใช้บริการเพื่อให้พร้อมเข้าอ่านได้ตลอดเวลา ผู้ใช้บริการจะสามารถเข้าอ่านได้ตลอดแม้ว่าผลงานชิ้นนั้นจะถูกลบออกจากหน้าเสนอขายไปแล้วก็ตาม
  8. ผู้ลงผลงานมีสิทธิในการอัพเดตและปรับเปลี่ยนเนื้อหาของผลงานที่ถูกซื้อไปแล้วได้ แต่ต้องผ่านการตรวจสอบจากระบบของเราก่อน
  9. ผู้ใช้บริการไม่มีสิทธินำผลงานที่ซื้อไว้ไปทำซ้ำ หรือเผยแพร่ต่อในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด
  10. ผู้ใช้บริการไม่สามารถขอคืนเงินได้ทุกกรณี หลังจากทำการซื้อไปแล้ว
cover
หลักธรรมที่คนในสังคมควรประพฤติปฏิบัติ
  • 0.0 (0)
  • |
  • ขายได้: 0
มนุษย์เราเมื่อต้องอยู่ร่วมกันในสังคม จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความชอบธรรม มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม บุคคลและสังคมประพฤติธรรมมาก สังคมนั้นจะมีความสุขมีสันติภาพ ถ้าสังคมใดคนส่วนมากประพฤติธรรมน้อย ทำหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวกกลุ่มน้อย ขาดความรับผิดชอบ ขาดความซื่อสัตย์ และไม่เป็นธรรม สังคมนั้นเกิดความสับสนวุ่นวาย ไม่มีความสุข มนุษย์จึงแบ่งระดับคุณธรรม ได้ 10 ระดับ ดังนี้
1. การประพฤติธรรม หมายถึง การทำหน้าที่ให้เกิดความยุติธรรม ปราศจากความลำเอียง เพราะเหตุ 4 ประการ คือ
1) ไม่ลำเอียงเพราะรัก ไม่นำความรัก ความชอบ ความคุ้นเคยสนิทสนมมาทำให้เสียความชอบธรรม (ฉันทาคติ)
2) ไม่ลำเอียงเพราะความเกลียดชัง ไม่นำเรื่องส่วนตัวมาปนกับการทำหน้าที่การงาน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง (โทสาคติ)
3) ไม่ลำเอียงเพราะความหลง ใช้เหตุผลในการพิจารณาแก้ไขปัญหาตัดสินปัญหา ต้องฟังหูไว้หู ไม่เชื่อใครง่ายๆ ต้องเป็นตัวของตัวเองในการวิเคราะห์งานและการตัดสินใจ ไม่เชื่อตามเขาว่า เพราะเขาเหล่านั้นเป็นเพื่อนสนิทของเรา (โมหาคติ)
4) ไม่ลำเอียงเพราะกลัวภัย ในการทำหน้าที่การงาน ไม่ต้องหวั่นไหวกลัวอิทธิพลต่างๆ แม้จะถูกข่มขู่กดดัน ก็จงพยายามทำหน้าที่ ถูกต้องตามระเบียบกฎหมายและศีลธรรม แม้จะเสียชีวิตก็ยอม เพื่อรักษาความเป็นธรรม (ภยาคติ)
2. ประพฤติตามธรรม หมายถึง การทำหน้าที่ชีวิตตามหลักคำสอนในศาสนา เช่น การทำหน้าที่ให้อยู่ในกรอบของ เบญจศีล กุศลกรรมบถ 10 มีดังนี้
1) ละการฆ่าการเบียดเบียน ให้มีเมตตากรุณา ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
2) ละการลักขโมย เคารพสิทธิในทรัพย์สินของผู้อื่น
3) ละการประพฤติผิดในกาม ไม่ล่วงละเมิดประเพณีทางเพศ
4) ละการพูดเท็จ พูดคำจริง รักษาความสัตย์
5) ละการพูดส่อเสียด พูดคำสมานสามัคคี
6) ละการพูดเพ้อเจ้อ พูดคำเป็นประโยชน์
7) ละการพูดคำหยาบ ส่งเสริมการพูดวาจาไพเราะอ่อนหวาน
8) ไม่เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น ส่งเสริมการเสียสละแบ่งปัน
9) ไม่มีจิตคิดร้าย คิดปรารถนาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนไม่มีทุกข์
10) มีความเห็นชอบ เช่น ทานมีผล การบูชามีผล กรรมดีกรรมชั่วมีผล
3. พัฒนาจิตให้มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป
4. เจริญสมาธิ และเจริญพรหมวิหารธรรม ได้แก่
1) เมตตา มีความรักใคร่ปรารถนาดี อยากให้เพื่อนมนุษย์สัตว์มีความสุข
2) กรุณา มีความสงสารคิดช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ดีมีสุข หรือได้ดี
3) มุทิตา มีความยินดีเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข หรือได้ดี
4) อุเบกขา มีใจเป็นกลาง เที่ยงธรรม ไม่เอนเอียง เพราะรักและชัง
5. มีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย
6. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ
7. มีความขยันหมั่นเพียร ประหยัด และอดออมในการทำหน้าที่
8. ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ หมายความว่า ปฏิบัติหน้าที่เพื่อบริการผู้อื่นไม่ต้องการสิ่งตอบแทน และรางวัลใดๆ เป็นเครื่องตอบแทน ในการทำหน้าที่นั้นๆ
9. การปฏิบัติหน้าที่ ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรม เพื่อลดความโลภ โกรธ หลง หมายถึง การทำหน้าที่เพื่อกำจัดกิเลส
10. อื่นๆ

หลักธรรมที่ควรยึดถือปฏิบัติ
หลักธรรมที่คนในสังคมควรประพฤติปฏิบัติ คือ ทศพิธราชธรรม หมายถึง หลักธรรมที่พึงปฏิบัติในฐานะเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงมีหน้าที่เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองประชาชนให้มีความสุขโดยธรรม และธรรมคือหน้าที่ คือเป็นสิ่งที่พึงทำของพระองค์ ซึ่งมีมาตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงขึ้นครองราชย์สมบัติ ตามที่ได้มีพระปฐมบรมราชโองการไว้ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ธรรมคือหน้าที่ดังกล่าวนี้เป็นข้อที่จะพึงทรงปฏิบัติ และทุกๆ คน อันหมายถึงผู้ปกครองที่มีระดับเป็นรัฐบาล ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน ตลอดถึงประชาชนทั้งปวง เมื่อเป็นขึ้นมาอย่างใด ก็ย่อมมีธรรมคือหน้าที่ คือเป็นกิจที่พึงปฏิบัติเกิดขึ้นทันที
หลักธรรมมี 10 อย่าง คือ
1. ทาน ทานที่เป็นราชธรรมมุ่งความสุขของประชาชน ได้แก่ การให้ เพื่อสงเคราะห์อนุเคราะห์บูชา เพื่อให้ผู้รับได้มีความสุขจากสิ่งที่ให้นั้น ตัวอย่างเช่น ข้อที่พระมหากษัตริย์ทรงชุบเลี้ยงพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ข้าราชการ ด้วยพระราชทานพระราชทรัพย์เครื่องอุปโภคบริโภคภัณฑ์ ตามฐานานุรูปของบุคคลนั้นๆ อันได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณ และพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่องค์การหรือบุคคล และราษฎรอันเป็นผู้สมควรนั้นๆ ตามคราวอันควร และพระราชทานจตุปัจจัยแก่บรรพชิตผู้ประกอบกิจพระศาสนา นับเป็นการบูชาธรรมปฏิบัติ และยังได้ทรงปฏิบัติในข้อทานนี้อีกเป็นอันมาก โดยที่ได้ทรงระลึกถึงหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ที่จะพึงปฏิบัติ เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้แก่ประชาราษฎรโดยทั่วไป
2. ศีล คือเจตนาที่รักษากายกรรม วจีกรรม ให้ตั้งเป็นปกติดี เว้นจากประพฤติชั่วทุจริตชื่อว่าศีล ศีลในทางปกครองคือ การประพฤติตามกฎหมาย จารีตประเพณีอันดีงาม ในทางพระพุทธศาสนา อย่างต่ำคือ ศีล 5 อันชนทั่วไปพึงสมาทานรักษา คือ
- ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากผลาญชีวิตกันและกัน เว้นตลอดถึงสัตว์มีชีวิต
- อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของเขาไม่ยอมให้
- กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
- มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
- สุราเมรยมชฌปมาทัฎฐานา เวรมณี เว้นจากดื่มสุราเมรัย
3. ปริจจาคะ คือการบริจาค เพื่อให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้รับ และเพื่อความสุขของผู้รับ เป็นการเฉลี่ยเผื่อแผ่ความสุขของตนแก่ผู้อื่น
4. อาชชวะ หมายถึง ความเป็นผู้ตรง คือซื่อสัตย์สุจริต โดยมุ่งเอาสัตย์คือความจริง ความประพฤติดีเป็นที่ตั้ง เมื่อสัตย์ หรือสัจจา ความจริงเป็นอย่างไร ก็ตรงไปอย่างนั้นมักจะใช้หมายทางวาจา คือพูดตามตรง ซื่อตรงคือมีความไม่คิดคดทรยศ หรือต่อองค์การหรือบุคคลที่พึงซื่อสัตย์สุจริต รวมถึงต่อมิตรสหายทั้งหลาย เพราะว่าองค์การหรือบุคคลดังกล่าวนั้น เป็นบุคคลหรือเป็นองค์การที่ตนเองไม่พึงคิดคดทรยศ และมิตรสหายก็เช่นเดียวกัน ไม่เป็นบุคคลที่มิตรสหายด้วยกันพึงคิดคดทรยศต่อกัน
5. มัททวะ หมายถึง ความเป็นผู้มีอัธยาศัยอ่อนโยน คือ ความเป็นผู้มีอัธยาศัยอ่อนโยน ไม่ดื้อดึงถือตนด้วยอำนาจ มีความอ่อนโยนไปตามเหตุผล ตามความสมควร ดังที่เรียกว่า การณวสิกะ เป็นไปตามอำนาจแห่งเหตุการณ์ที่ควรดำเนิน และมีสัมมาคารวะต่อท่านผู้ใหญ่ผู้เจริญ อ่อนโยนต่อบุคคลที่เสมอกันและต่ำกว่า วางตนสม่ำเสมอ ไม่กระด้างดูหมิ่นผู้อื่นด้วยอำนาจมานะ เพราะชาติ เพราะโคตร เพราะยศ เพราะทรัพย์ เป็นต้น
6. ตบะ หมายถึง ความเพียร และความเพียรนั้นก็ต้องมีลักษณะที่เผาผลาญ เช่น เผาผลาญความเกียจคร้านอันตรงกันข้ามกับความเพียร เผาผลาญกิเลสที่บังเกิดขึ้น เผาผลาญอกุศลบาปธรรมทั้งหลายดั่งที่กล่าวมาข้างต้น
7. อักโกธะ หมายถึง ความไม่โกรธ ความโกรธซึ่งเป็นกิเลสข้อหนึ่งในกิเลส ๓ กอง ดังที่พูดกันว่าโลภ โกรธ หลง หรือโลภะ โทสะ โมหะ ความไม่โกรธจักมีได้ ก็เพราะมีเมตตา หวังความสุขความเจริญแก่ตนและต่อกันและกัน คนที่เป็นหัวหน้าปกครองก็ตาม เป็นผู้อยู่ในปกครองก็ตาม เมื่อแสดงความโกรธอออกมาให้ปรากฎ ก็แสดงว่าตนเองลุอำนาจของความโกรธ กิริยาที่แสดงความโกรธออกมานั้นก็ไม่งดงาม น่าเกลียดน่าชัง
8. อวิหิงสา หมายถึง ความไม่เบียดเบียน กิริยาที่ไม่เบียดเบียนให้ลำบาก คือ ความไม่ก่อทุกข์ยากแก่ผู้อื่น ตลอดจนถึงสัตว์ด้วยเห็นเป็นสนุกของตนเพราะอำนาจโมหะ เช่น ทำร้ายคนและสัตว์อื่นเล่น ชื่อว่าอวิหิงสา คนผู้รวมกันอยู่เป็นหมู่ ทั้งผู้ปกครอง ทั้งผู้อยู่ในปกครอง จะอยู่ด้วยกันได้เป็นสุขก็เพราะไม่เบียดเบียนกัน
9. ขันติ หมายถึง ความอดทน กิริยาที่อดทนต่อโลภะ ความอยากได้บ้าง ต่อโทสะ ความโกรธเคืองจนถึงพยาบาทมุ่งร้ายบ้าง ต่อโมหะ ความหลงงมงายบ้าง เพราะได้ประสบอารมณ์ที่ยั่วให้เกิด เมื่อมีอารมณ์มาประสบยั่วให้เกิดอยากได้ อยากล้างผลาญ อยากเบียดเบียน ก็อดทนไว้ ไม่แสดงวิกลวิการอันชั่วร้ายทางกายวาจาออกไป ตามอำนาจแห่งโลภะ โทสะ โมหะ และอดทนต่อทุกขเวทนา มีเย็น ร้อน เป็นต้น อันทำให้ลำบาก อดทนตรากตรำประกอบการงานต่างๆ อดทนต่อถ้อยคำที่มีผู้กล่าวชั่ว ไม่เป็นที่ชอบใจ ชื่อว่าขันติ
10. อวิโรธนะ หมายถึง ความไม่ผิด รู้ว่าผิดแล้วไม่ดื้อขืนทำ คือไม่ยอมทำผิดทั้งรู้ๆ ผิดในที่นี้ หมายถึงผิดจากข้อที่ถูกที่ควรทุกอย่าง เช่น ผิดจากความยุติธรรมด้วยอำนาจ อคติ ผิดจากปกติ คือเมื่อประสบความเจริญหรือความเสื่อม ก็รักษาอาการกาย วาจา ไว้ให้คงที่ ไม่ให้ขึ้นลงเพราะยินดียินร้าย คนสามัญทั่วไปในชั้นต้นยังทำผิดอยู่ เพราะไม่รู้ว่าผิด



-----------------------------------------
  • 0
  • 2 ปีที่ผ่านมา

รูปแบบ และแนวทางการลงผลงาน

รูปแบบการลงผลงาน

การลงผลงานให้อ่านใน ‘คลังความรู้.com’ จะแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบโดยผู้ลงผลงานสามารถเลือกได้เองอย่างอิสระ ดังนี้

รูปแบบที่ 1: เปิดให้บุคคลทั่วไปอ่านฟรี

ผู้ลงผลงานสามารถเปิดให้ผู้ที่ต้องการศึกษาเข้าอ่านได้ฟรี เพื่อเป็นการทดลองอ่านหรือโฆษณาผลงานชุดนั้นๆ โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้อง Login ก็สามารถเข้าอ่านได้ ขึ้นอยู่กับผู้ลงผลงานว่ามีความประสงค์ให้อ่านฟรีมากเท่าใด อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งชุด สิทธิ์ในการตัดสินใจเป็นของผู้ลงผลงานทั้งสิ้น อีกทั้งผู้ลงผลงานสามารถนำผลงานไปโปรโมท หรือเผยแพร่ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด

รูปแบบที่ 2: เปิดให้สมาชิกเท่านั้นที่อ่านฟรีได้

ผู้ลงผลงานสามารถติดไอคอน ‘เหรียญเงิน’ ในผลงานที่ผู้ลงผลงานต้องการสงวนไว้ให้เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่อ่านได้ ไอคอนเหรียญเงินที่ว่านี้จะทำให้ผู้อ่านเห็นคุณค่าของผลงานของท่าน และเหรียญเงินแต่ละดอกจะมีผลต่อการจัดอันดับ Top 10 ผลงานในแต่ละหมวดหมู่อีกด้วย

รูปแบบที่ 3: เปิดให้ผู้สนับสนุนเท่านั้นที่อ่านได้

ในกรณีที่ผู้ลงผลงานต้องการสร้างรายได้จากผลงานของท่าน ท่านสามารถเลือกที่จะติด ‘เหรียญทอง’ ในผลงานของท่านได้ โดยที่เหรียญเหล่านี้ ผู้ใช้บริการที่ต้องการจะสนับสนุนจะใช้เงินซื้อมาเพื่อแลกกับการอ่านผลงานของท่าน (ตามราคาที่ผู้ลงผลงานตั้งไว้ในแต่ละคอนเทนต์)

รูปแบบที่ 4: เปิดกว้างให้ทั้งสมาชิกและผู้สนับสนุนอ่านได้ทั้งคู่

ผู้ลงผลงานสามารถเลือกติดเหรียญเงินและเหรียญไปพร้อม ๆ กันได้ นั่นหมายความว่า ท่านยินดีที่จะให้สมาชิกอ่านฟรีและเปิดกว้างสำหรับผู้ที่พร้อมจะสนับสนุนไปด้วย ซึ่งวิธีนี้ก็จะดีมากสำหรับการโฆษณางานของตัวผู้ลงผลงานเองให้เป็นที่รู้จัก ผลงานของคุณจะไม่พลาดการจัดอันดับ Top 10 จากเหรียญเงินอีกทั้งยังสามารถได้รับการสนับสนุนจากผู้ใช้บริการในรูปแบบของเหรียญทองอีกด้วย

แนวทางการลงผลงาน

ข้อห้ามเกี่ยวกับผลงานที่นำมาลง

** ‘คลังความรู้.com’ ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับระดับการแสดงผลงาน หรือระงับการให้บริการผลงานแก่ผู้ลงผลงานที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยไม่มีการแจ้งหรือขออนุญาตล่วงหน้า
*** หากเกิดการฟ้องร้องใดๆ เกี่ยวกับผลงานของผู้ลงผลงาน ทาง ‘คลังความรู้.com’ จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกกรณี เนื่องจาก ‘คลังความรู้.com’ เป็นพื้นที่ที่ใช้ลงผลงานเท่านั้น