เมนูทั้งหมด
เมนูทั้งหมด

ข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้บริการ

  1. ผู้ลงผลงานอาจมีการนำเข้าหรือแชร์ลิงค์ออกไปยังเว็บไซต์อื่น หรือแพลตฟอร์มของบุคคลอื่น ในกรณีดังกล่าว หากเกิดปัญหาใดๆ หลังจากการแชร์ลิงค์ออกไปภายนอก จะไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของทาง ‘คลังความรู้.com’ ทุกกรณี
  2. เมื่อสมัครสมาชิกเพื่อลงผลงาน หรือใช้บริการ ทางเราอาจขอข้อมูลบางประการจากผู้สมัครโดยผู้สมัครสามารถสร้างข้อมูลสมาชิกต่าง ๆ ได้เอง เช่น ชื่อ นามสกุล เพศ วัน/เดือน/ปี เกิด หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ที่อยู่ หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาพถ่ายที่ผู้ใช้งานอาจทำการอัพโหลดเข้ามาในระบบ ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อมูลสมาชิกของที่ตนเองสร้างขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ รูปภาพหรือสถานที่ต่าง ๆ ท่านต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงความเสี่ยงในการแสดงข้อมูลนั้น ๆ
  3. หากผู้สมัครตัดสินใจเข้าใช้บริการ ‘คลังความรู้.com’ โดยผ่านบริการยืนยันตัวตนของผู้ให้บริการอื่น เช่น ผู้ให้บริการเฟสบุ๊คหรืออีเมล เป็นต้น ทางเราอาจได้รับข้อมูลประวัติหรือข้อมูลอื่นเพิ่มเติมตามที่ผู้ให้บริการรายดังกล่าวแสดงผลและกำหนดไว้
  4. ข้อมูลจากเว็บไซต์และอุปกรณ์เคลื่อนที่อาจมีการบันทึกข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ของเรา เช่น ข้อมูลที่ได้รับจากอุปกรณ์หรือเว็บบราวเซอร์ของผู้สมัคร รวมถึงไอพีแอดเดรส โดยการดำเนินการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นที่เว็บไซต์ ‘คลังความรู้.com’ หรือบนแพลตฟอร์มบุคคลภายนอกด้วย
  5. ‘คลังความรู้.com’ อาจใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมและควบคุมไว้เพื่อวิเคราะห์ปรับปรุงบริการด้านต่าง ๆ เพื่อให้บริการได้ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งาน ดังนั้นจึงอาจมีการติดต่อสมาชิกสำหรับการสื่อสารด้านการตลาดที่ได้รับอนุญาตผ่านช่องทางติดต่อสื่อสารใดๆ ที่ใช้การได้
  6. ข้อมูลที่ ‘คลังความรู้.com’ เก็บรวบรวมจะได้รับการปกป้องโดยขั้นตอนรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมตามสมควร เพื่อป้องกันการเข้าถึงหรือใช้ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น ผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามนโยบายที่ชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้อย่างเคร่งครัด โดยจะไม่กระทำการใดอันเป็นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้งานอื่นหรือบุคคลภายนอก ทั้งนี้หาก ‘คลังความรู้.com’ พบการล่วงละเมิดดังกล่าว เราขอสงวนสิทธิในการยกเลิกและปิดกั้นการเข้าใช้ของผู้ใช้งานผู้กระทำการล่วงละเมิดนั้น

    กรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคลและช่องทางติดต่อสื่อสารของผู้ใช้งานเสียหายหรือสูญหาย ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งรวมถึง การจารกรรมด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Hack) หรือวิธีการอื่น ‘คลังความรู้.com’ ขอสงวนสิทธิโดยไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายหรือสูญหายดังกล่าว หรือต่อความเสียหายสืบเนื่องใดๆ ทั้งสิ้น

  7. หลังจากซื้อผลงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ผลงานชิ้นนั้น ๆ จะถูกเก็บไว้ใน ‘คลัง’ ของผู้ใช้บริการเพื่อให้พร้อมเข้าอ่านได้ตลอดเวลา ผู้ใช้บริการจะสามารถเข้าอ่านได้ตลอดแม้ว่าผลงานชิ้นนั้นจะถูกลบออกจากหน้าเสนอขายไปแล้วก็ตาม
  8. ผู้ลงผลงานมีสิทธิในการอัพเดตและปรับเปลี่ยนเนื้อหาของผลงานที่ถูกซื้อไปแล้วได้ แต่ต้องผ่านการตรวจสอบจากระบบของเราก่อน
  9. ผู้ใช้บริการไม่มีสิทธินำผลงานที่ซื้อไว้ไปทำซ้ำ หรือเผยแพร่ต่อในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด
  10. ผู้ใช้บริการไม่สามารถขอคืนเงินได้ทุกกรณี หลังจากทำการซื้อไปแล้ว
cover
การเขียนบทละครโทรทัศน์
  • 0.0 (0)
  • |
  • ขายได้: 6
“การเขียนบทละครโทรทัศน์” ตอนที่ 1


อยากเป็นคนเขียนบทละครโทรทัศน์ ต้องทำอย่างไร?

บทความนี้ต้องขอออกตัวก่อนนะคะว่าไม่ได้เป็นบทความทางวิชาการมากนักแต่จะแฝงความรู้เรื่อง “การเขียนบทละครโทรทัศน์” จากประสบการณ์จริงของผู้เขียนเอง ที่เคยมีความฝัน มีแรงบันดาลใจอยากเป็นนักเขียนบทละครตั้งแต่จบจากปริญญาตรี และก็ได้เดินอยู่บนเส้นทางนั้นมากว่า 10 ปี เริ่มต้นจากที่ไม่รู้อะไรเลย นึกภาพไม่ออกเลยว่าละครเขาต้องเริ่มเขียนจากอะไรก่อน อะไรหลัง นักแสดงถึงสามารถมีบทของตนเองเล่นจนจบเรื่อง นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบของเรื่องมากมายที่ซับซ้อน เขาทำอย่างไรถึงออกมาสนุก เรื่องที่สนุกก็ประทับใจ เรื่องที่ไม่สุด ไม่สนุกก็มีมากมายแต่ก็นำมาผลิตและออกอากาศกันได้ ทำให้นึกสนุกว่า ถ้าฉันได้เขียนบทเรื่องนี้เองบ้างน่าจะเป็นแบบนี้ แบบนั้นและน่าจะสนุกกว่านี้เป็นแน่ แต่เอ๊ะ! เขาเริ่มจากอะไร จากจุดไหน อยากเขียน อยากทำงานด้านนี้ แต่ก็จับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ไม่รู้วิธีคิดอะไรเลย จนกระทั่งได้เข้าสู่การเรียนการเขียนบทละครโทรทัศน์อย่างมืออาชีพกับนักเขียนบทแถวหน้าของประเทศไทยหลายท่าน จำนวน 2 ครั้งด้วยกัน แต่ละครั้งก็ใช้เวลาเรียนประมาณ 1เดือน ได้แนวทางในการเขียน และเริ่มได้รับโอกาสให้เขียนจากที่เราส่งบทให้เขาตรวจและเริ่มเห็นแววเอาจริงของเราและได้เดินตามความฝันตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ถึงแม้จะเขียนได้ไม่กี่เรื่องก็ตาม เนื่องจากทำงานประจำไปด้วย รับงานเขียนบทไปด้วย จนมีภารกิจการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นจึงหยุดไปสักพักและเมื่อเรียนจบก็ยังได้โอกาสกลับมาเขียนใหม่จากผู้จัด แต่ในที่สุดก็ต้องทำงานในสายอาชีพอาจารย์ที่มีภารกิจต้องใช้เวลากับการสอนมากขึ้น จนไม่อาจปลีกตัวเองทำงานเขียนบทที่มีระยะในการส่งบทเพื่อการผลิตอย่างเร่งรีบต่อไป จึงถึงเวลาต้องเลือกและเลือกหยุดเขียนไปก่อน แต่ทุกเรื่องที่มีโอกาสจรดปากกา(แป้นพิมพ์) คือจิตวิญญาณของการาทำงานที่ฝังลงไปในตัวละคร เรารักตัวละครทุกตัวที่เราจินตนาการเขาขึ้นมามีชีวิต เราขอบคุณตัวละครทุกตัวที่สามารถเล่นตามบทบาทที่เราเอาบทพูดเข้าปากเขา และยังคงเข้าถึงบทประพันธ์เดิมหรือบทประพันธ์ดัดแปลงที่ได้ตั้งใจไว้
บทความนี้จึงอยากถ่ายทอดให้คนที่สนใจในการเขียนบทละครโทรทัศน์ได้เห็นเส้นทางการทำงานของคนเขียนบทละครที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ และอาจต้องทนหนามกุหลาบที่เกี่ยวให้ถูกเนื้อให้เจ็บบ้าง แต่ก็ต้องทนเดินไปให้ถึงทุ่งกุหลาบอันสวยงามที่อยู่เบื้องหน้า เรามาเริ่มเดินทางกันเลยดีมั้ย

อยากเป็นคนเขียนบทละครโทรทัศน์ ต้องทำอย่างไร?
เชื่อว่าหลายๆ คนที่สนใจอยากเป็นนักเขียนบทละครโทรทัศน์ก็มีคำถามนี้อยู่ในใจเช่นกัน เพราะในอดีตก็เคยเป็นคำถามที่ค้างคารใจ เคยพร่ำบ่น พร่ำหาคำตอบอยู่เช่นกันว่าที่ไหนเขามีการสอนการเขียนบทบ้าง? แล้วเขาเขียนกันยังไง? ถึงมาเป็นนักแสดงเล่นเป็นฉากๆ เป็นที่นิยมของคอละครทั่วบ้านทั่วเมือง ซึ่งสมัยเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนไม่สามารถหาที่เรียนเขียนบทละครได้แบบสมัยนี้ ตอนนั้นความสงสัยอยู่ในใจเสมอมาว่ากว่าจะมาเป็นบทละครเนี่ย เขาเริ่มจากตรงไหนกันนะ!
คำถามนี้เมื่อหลายปีก่อนก็ย้อนกลับมาให้ได้ยินอีกครั้งจากนักศึกษาซึ่งถามขึ้นในชั้นเรียนวิชาการเขียนบทละครโทรทัศน์ ที่อาจารย์สอนอยู่คณะนิเทศศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ซึ่งการเขียนบทละครโทรทัศน์ไม่ได้บรรจุเป็นหลักสูตรสาขาวิชา แต่เป็นเพียงวิชาในหลักสูตรที่เรียนเพียง 3 หน่วยกิต ซึ่งอาจารย์เชื่อว่าแม้เพียง 3 หน่วยกิต มีเวลาเรียนประมาณ 16 สัปดาห์ก็เพียงพอที่จะทำความเข้าใจในศาสตร์นี้อย่างลึกซึ้งได้ ดังนั้นจึงอยากให้ทุกคนสิ้นสงสัยและเป็นสิ่งที่เปิดเผยได้ เต็มใจเปิดเผย เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสก้าวเข้าสู้ความฝันได้ด้วยตนเอง ฝึกเขียนให้เป็นคือจุดเริ่มต้น ส่วนจะไปต่อได้อย่างไร ติดตามกันไปเรื่อยๆ ก็จะรู้แน่นอน

มาเข้าเรื่องกันดีกว่า ว่าการเป็นนักเขียนบทละครโทรทัศน์ต้องมีความรู้อะไรบ้าง ต้องเริ่มจากอะไร รับรองว่าถ้าใครได้อ่านบทความ “การเขียนบทละครโทรทัศน์” จบทุกตอน เขียนบทเป็นได้อย่างแน่นอน ขอย้ำ ว่าถ้าคุณอ่านแล้วลงมือทำด้วยนะคะ ก่อนอื่นเลยอยากบอกทุกคนว่าจะไม่สอนแบบทฤษฏีจ๋า หรือมีศัพท์ทางวิชาการอะไรมากนัก แต่จะสอนไปเขียนไปพร้อมๆ กัน และก็ตรวจงานด้วยตนเองได้เลย แบบนี้ก็จะทำให้ทุกคนที่เรียนการเขียนบทละครไม่เบื่อ ฝึกฝนได้จริง เห็นผลจริง และได้เห็นพัฒนาการของตนเองอย่างชัดเจนด้วยค่ะ เอาล่ะ วันนี้อาจารย์ขอให้การบ้านทุกคนเริ่มต้นจากการเขียน ประวัติชีวิตของตัวเอง มาไม่เกิน 2 หน้า แล้วดูสิว่า เราพอจะอดทนเขียนได้หรือไม่ เพราะถ้า 2 หน้าเรายังไปไม่รอด เขียนไม่ออก อ่านเองแล้วก็ยังไม่น่าสนใจ ไม่ดึงดูด จะได้เปลี่ยนใจทันนะคะ เพราะการเขียนบทละครนับว่าต้องใช้เวลาในการคิด ในการเขียน อย่างน้อยที่สุดใน 1 ตอนชั่วโมงของละครโทรทัศน์ ก็มีความยาวของบทละครประมาณ 20 หน้าขึ้นไปซึ่งยังไม่ได้รวมการแก้ไขจากผู้จัดหรือผู้กำกับหรือผู้ควบคุมบทละคร จึงนับได้ว่าต้องใช้ความอดทน ความทุ่มเทอย่างยิ่ง มาลองดูกันสักตั้งนะคะ เล่าประวัติตนเองตามความเป็นจริง แล้วคิดว่าต้องเขียนอย่างไรให้คนอ่าน รู้สึกสนุกที่สุด! ลองเขียนกันมาก่อน แล้วบทความหน้า จะได้ช่วยกันปรับประวัติชีวิตจริงของเราให้สู่บทละครที่สนุกสุดเหวี่ยงกันนะคะ.
avatar
การเขียนบทละคร
  • 0
  • 2 ปีที่ผ่านมา

รูปแบบ และแนวทางการลงผลงาน

รูปแบบการลงผลงาน

การลงผลงานให้อ่านใน ‘คลังความรู้.com’ จะแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบโดยผู้ลงผลงานสามารถเลือกได้เองอย่างอิสระ ดังนี้

รูปแบบที่ 1: เปิดให้บุคคลทั่วไปอ่านฟรี

ผู้ลงผลงานสามารถเปิดให้ผู้ที่ต้องการศึกษาเข้าอ่านได้ฟรี เพื่อเป็นการทดลองอ่านหรือโฆษณาผลงานชุดนั้นๆ โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้อง Login ก็สามารถเข้าอ่านได้ ขึ้นอยู่กับผู้ลงผลงานว่ามีความประสงค์ให้อ่านฟรีมากเท่าใด อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งชุด สิทธิ์ในการตัดสินใจเป็นของผู้ลงผลงานทั้งสิ้น อีกทั้งผู้ลงผลงานสามารถนำผลงานไปโปรโมท หรือเผยแพร่ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด

รูปแบบที่ 2: เปิดให้สมาชิกเท่านั้นที่อ่านฟรีได้

ผู้ลงผลงานสามารถติดไอคอน ‘เหรียญเงิน’ ในผลงานที่ผู้ลงผลงานต้องการสงวนไว้ให้เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่อ่านได้ ไอคอนเหรียญเงินที่ว่านี้จะทำให้ผู้อ่านเห็นคุณค่าของผลงานของท่าน และเหรียญเงินแต่ละดอกจะมีผลต่อการจัดอันดับ Top 10 ผลงานในแต่ละหมวดหมู่อีกด้วย

รูปแบบที่ 3: เปิดให้ผู้สนับสนุนเท่านั้นที่อ่านได้

ในกรณีที่ผู้ลงผลงานต้องการสร้างรายได้จากผลงานของท่าน ท่านสามารถเลือกที่จะติด ‘เหรียญทอง’ ในผลงานของท่านได้ โดยที่เหรียญเหล่านี้ ผู้ใช้บริการที่ต้องการจะสนับสนุนจะใช้เงินซื้อมาเพื่อแลกกับการอ่านผลงานของท่าน (ตามราคาที่ผู้ลงผลงานตั้งไว้ในแต่ละคอนเทนต์)

รูปแบบที่ 4: เปิดกว้างให้ทั้งสมาชิกและผู้สนับสนุนอ่านได้ทั้งคู่

ผู้ลงผลงานสามารถเลือกติดเหรียญเงินและเหรียญไปพร้อม ๆ กันได้ นั่นหมายความว่า ท่านยินดีที่จะให้สมาชิกอ่านฟรีและเปิดกว้างสำหรับผู้ที่พร้อมจะสนับสนุนไปด้วย ซึ่งวิธีนี้ก็จะดีมากสำหรับการโฆษณางานของตัวผู้ลงผลงานเองให้เป็นที่รู้จัก ผลงานของคุณจะไม่พลาดการจัดอันดับ Top 10 จากเหรียญเงินอีกทั้งยังสามารถได้รับการสนับสนุนจากผู้ใช้บริการในรูปแบบของเหรียญทองอีกด้วย

แนวทางการลงผลงาน

ข้อห้ามเกี่ยวกับผลงานที่นำมาลง

** ‘คลังความรู้.com’ ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับระดับการแสดงผลงาน หรือระงับการให้บริการผลงานแก่ผู้ลงผลงานที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยไม่มีการแจ้งหรือขออนุญาตล่วงหน้า
*** หากเกิดการฟ้องร้องใดๆ เกี่ยวกับผลงานของผู้ลงผลงาน ทาง ‘คลังความรู้.com’ จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกกรณี เนื่องจาก ‘คลังความรู้.com’ เป็นพื้นที่ที่ใช้ลงผลงานเท่านั้น